การเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพและปริมาณเขม่าดินปืนบนผ้าภายหลังการยิง ด้วยเทคนิค SEM/EDX
คำสำคัญ:
ลักษณะทางกายภาพ, เขม่าดินปืน, ระยะยิงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอนุภาคของเขม่าดินปืนบนผ้าภายหลังการยิงที่ระยะยิงที่แตกต่างกัน ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM) และเปรียบเทียบปริมาณเขม่าดินปืนบนตัวอย่างผ้าภายหลังการยิงที่ระยะการยิงที่แตกต่างกัน ด้วยเทคนิคเอกซเรย์สเปกโทรสโกปีแบบกระจายพลังงาน (Energy Dispersive X-ray Spectroscopy, EDX) โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง
ใช้อาวุธปืนพกสั้นกึ่งอัตโนมัติ วอลเธอร์ ขนาด .380 นิ้ว ทำการยิงทั้งหมด 6 ระยะ ได้แก่ ระยะประชิด ระยะ 5 เมตร ระยะ 10 เมตร ระยะ 15 เมตร ระยะ 20 เมตร และ ระยะ 25 เมตร ทำซ้ำ 5 ครั้งต่อระยะ และวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) และรายงานเป็นค่าเฉลี่ย ±S.D. ของปริมาณธาตุองค์ประกอบ ผลการศึกษา พบว่า ที่ระยะยิง 25 เมตร มีขนาดอนุภาคที่ใหญ่ที่สุด เท่ากับ 4.17 ไมครอน และที่ระยะประชิดมีขนาดอนุภาคเล็กที่สุด เท่ากับ 1.10 ไมครอน ปริมาณธาตุองค์ประกอบหลัก 3 ธาตุ ได้แก่ แอนติโมนี (Sb) แบเรียม (Ba) และตะกั่ว (Pb) ที่ระยะยิง 5 เมตร มีปริมาณแบเรียมมากที่สุด จึงพบปริมาณเขม่าดินปืนที่ระยะประชิดน้อย ที่ระยะ 5 เมตร พบเปอร์เซ็นธาตุของเขม่าดินปืนมากที่สุด (รายงานเป็นค่าเฉลี่ยน±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) คือ ธาตุแอนติโมนี (Sb) เท่ากับ 7.37±3.08 ธาตุแบเรียม (Ba) เท่ากับ 110.25±4.81 และธาตุตะกั่ว (Pb) เท่ากับ 27.55± 8.59 และเมื่อศึกษาที่ระยะ 20 เมตร พบว่า ปริมาณเขม่าดินปืนลดลง งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ เนื่องจากเทคนิคนี้ไม่ทำลายวัตถุพยาน และใช้เวลาน้อยในการตรวจวิเคราะห์
References
ณรงค์ กุลนิเทศ. (2558). การวิเคราะห์เขม่าดินปีนบนเสื้อผ้าแต่ละชนิดโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ ส่องกราด. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, 1(1):23-30.
ธิติมหาเจริญ. (2561). การตรวจลักษณะธาตุองค์ประกอบในปลอกกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติ โดยวิธี Scanning Electron Microscope/Energy Dispersive X-ray Spectroscopy เพื่อประยุกต์ใช้ในงาน นิติวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, 4(1): 26-41.
ธีระศักดิ์ ว่องสกุล และสันตี้ สุขวัจน์ (2557), การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการกระจายตัวและคุณสมบัติของอนุภาคเขม่าปืน ที่เกิดจากการยิงปืนสั้นรีวอลเวอร์ ขนาด .38 นิ้ว ที่มีความยาวลำกล้องแกต่าง กัน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2): 12-23.
พุทธิชาต มิ่งชะนิด และณรงค์ กุลนิเทศ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณเขม่าปืนภายหลังการยิ่งปินบนหลังมือและฝ่ามือจำแนกตามอาชีพ ช่วงเวลาหลังยิ่งปืนตามขนาดอาวุธปินและ ลูกกระสุนปีน, การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 2579-2592. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พุทธิชาต มิ่งชะนิด และณรงค์ กุลนิเทศ. (2560). การศึกษาระยะเวลาการคงอยู่ของปริมาณเม่าปืนภายหลังการยิงปืน 9 มม. บนหลังมือและฝ่ามือจำแนกตามช่วงเวลาหลังยิ่งปืนและลูกกระสุนปืน. วารสาร วิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(3): 8-18.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์.
ภิญญดา อันสนั่น, สุธา ภู่สิทธิศักดิ์ และจิรวัชร ธนูรัตน์. (2556) การหาปริมาณไนเตรทในเขม่าดินปืนภายในลำกล้องปืนโดยเทคนิคสเปคโตรโฟโตรเมตรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(4):46-57.
รัชนารถ กิตติดุษฎี. (2535). การตรวจคราบเขม่าจาการยิงปืนที่มือ โดยวิธี SEMVEDX. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทรย์ แซ่โง้ว (2549). หลักการพื้นฐานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, (SEM). เอกสารประกอบการบรรยาย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิรุฬห์ พรมมากุล. (2560). การวัดความหนาของฟิล์มบางนาโนด้วยเทคนิคเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิวัฒน์ ชินวร. (2547). การวิเคราะห์เขม่าปืนด้วยเทคนิค SEMVEDX. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2562). สถิติฐานความผิดคดีอาญา (คดี 4 กลุ่ม) หน่วยงานตำรวจภูธรภาค 4. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563 จาก https://images.app.goo.gV/fPDzGEMDLIYaWrz59.
อาคม รวมสุวรรณ. (2558). จิ๋วแจ้วจอมโหด ส่องปืนจิ๋ว 5 กระบอก เล็กพริกขี้หนูมาดูกัน. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/content/509454.
จารุวรรณ อัมพฤกษ์. (2555). การวิเคราะห์เส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ในงานทางนิติวิทยาศาสตร์โดย Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FT-IR). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Ficek, M., Malánik, Z., Mikulizova, M. & Gracla, M. (2019). Influence of the Shooting Distance on the Depth of Penetration of the Bullet Into the Replacement Material for Air Gun Weapons. 30th Daaam International Symposium on Intelligent Manufacturing and Automation. 0663-0672.
Wolten, GM., Calloway, AR., Loper, GL., & Nesbitt, RS. (1979). Particle Analysis for the
Detection of Gunshot Residue II: Occupational and Environmental Particles. Journal of Forensic Science, 24(2): 533-545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.