การวิเคราะห์ผลการตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้แต่ง

  • คมชาญ หนูเมือง คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร. พัชรา สินลอยมา คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด, ผู้เสียชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานนิติเวชศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระยะเวลา และสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้เสียชีวิตกับระดับแอลกอฮอล์ เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรจากหน่วยงานนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559 จำนวนทั้งสิ้น 245 ราย และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Squares)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร จำนวน 245 ราย ตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ในเลือด จำนวน 82 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.50 โดยปีที่มีการเสียชีวิตมากที่สุด คือ ปี พ.ศ. 2558 จำนวน 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.80 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 197 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.40 อายุอยู่ระหว่าง 31 ถึง 40 ปี จำนวน 52 ราย ร้อยละ 21.60 เดือนที่มีการเสียชีวิตมากที่สุด คือ เดือนมกราคม จำนวน 28 ราย ร้อยละ 11.40 โดยส่วนใหญ่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นในช่วงเช้ามืด (01.00 น. ถึง 05.59 น.) มากที่สุด จำนวน 82 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.50 และสาเหตุการเสียชีวิต คือ การได้รับอันตรายต่อศีรษะ จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 61.20 ส่วนใหญ่ตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 101 ถึง 250 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จำนวน 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.20 เมื่อทำการทดสอบสมมุติฐานเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระยะเวลา และสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้เสียชีวิตกับระดับแอลกอฮอล์ พบว่า เพศของผู้เสียชีวิต อายุของผู้เสียชีวิต ช่วงเวลาที่เสียชีวิต มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05

References

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "ลัลลาเบล" ช็อกเหล้าดับ ปริมาณ 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่มียาเสพติด สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1667331.

มนัญชัย บึงไกล. (2554). พฤติกรรมการดื่มสุรากับการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้มารับบริการในห้องตรวจ นิติเวชของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 5 (2): 55-60.

วุฒิ ผาตินุวัติ. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องดื่มที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแอลกอฮอล์ในเลือด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสุขภาพ. (2554), ขี่รถมอเตอร์ไซด์อย่างปลอดภัย อย่าลืมใช้หมวกกันน็อค. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563 จาก https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_2.php.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการศึกษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่ศีรษะในผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์และผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2552-2554. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก http://www.thaincd.com/document/file/info/injured/รายงานการบาดเจ็บที่ศีรษะ52-54.pdf.

Alessandro, L. C., Belchior, M. L., Iris, S. A. R., Amanda, L. S., Taua, T. L. and Alidianne, F. C. X. (2013). Motorcycle Accidents: Morbidity and Associated Factors in a City of Northeast of Braxil. Tanzania Journal of Health Research, 15 (4): 1-7.

Apidechkul, T., Laingoen, O. Suwannaporn, S. and Tamornpark, R. (2017). Factors Influencing Motorcycle Accidents Among Hill Tribe Youths in Chiang Rai, Thailand. Journal of Health Research, 31(6): 473-480.

Dimaio, D. J. and Dimaio, V. J. M. (1656). Forensic Pathology. NewYork: Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15

How to Cite

หนูเมือง ค., & สินลอยมา พ. (2021). การวิเคราะห์ผลการตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 97–112. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/375