แนวทางการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยว, โซ่อุปทาน, จังหวัดภูเก็ตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยตามลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการท่องเที่ยว ที่มีต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับของการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทย ตามลักษณะส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงอธิบาย กลุ่มตัวอย่างในการแจกแบบสอบถาม 384 คน สุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เลือกตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ก่อนเดินทาง ด้านการไหลเวียนทางข้อมูลข่าวสาร ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.57 ระหว่างเดินทาง ด้านการไหลเวียนทางกายภาพ ด้านสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.86 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3.45 ด้านความปลอดภัย ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3.37 ด้านการไหลเวียนทางข้อมูลข่าวสาร ด้านข้อมูลข่าวสาร ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.63 ด้านเวลา ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3.28 ด้านการไหลเวียนทางการเงิน ด้านการชำระเงิน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.54 หลังเดินทาง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.95 (2) ผลการทดสอบสมมติฐาน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต แตกต่างกัน ยกเว้นด้านเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (3) แนวทางการจัดการโซ่อุทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต มีความคิดเห็นว่าควรมีการจัดการการไหลเวียนทางกายภาพ เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ท่าเรือ ถนน ไฟฟ้า และน้ำ) ขยะ เป็นต้น การจัดการการไหลเวียนทางข้อมูลข่าวสาร เช่น การประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยว และการจัดการการไหลเวียนทางการเงิน
References
กฤติยา เกิดผล และปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร. (2560). การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรี. รายงานฉบับสมบูรณ์ งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
คมสัน สุริยะ. (2552). หัวใจของโลจิสติกส์ท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563 จาก http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=190:2009-07-16-19-35-13&catid=64:2008-12-01-11-20-40&Itemid=78.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทัศนพงษ์ เพ็ชรตระกูล. (2561). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองพัทยา. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เบญจมาศ ณ ทองแก้ว และคณะ. (2560). ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตำบลคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร.
ปณิชา ตันสูติชล. (2560). การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พระมหารณรงค์ เคนรักษา. (2561). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษาปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาค อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2551). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืน 3: การเปรียบเทียบเชิงโลจิสติกส์. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วาสนา จรูญศรีโชติกำจร และคณะ. (2560). ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10 (2): 213 - 229.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2559). บรรยายสรุปข้อมูลจังหวัดภูเก็ต. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. กันยายน 2559.
สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุภัสสรา ปัญโญรัฐโรจน์. (2561). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรี. บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ธันวาคม 2561 ฉบับเสริม ครบรอบ 12 ปี: 151-161.
สัคพัศ แสงฉาย และนัทนิชา หาสุนทรี. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2561.
Belch, George E. & Michael A. Belch. (2005). Advertising and Promotion: an Integrated Marketing Communications Perspective, 6th ed. Boston: McGraw-Hill.
Christopher, M. (2005). Logistics and Supply Chain Management: Creating Value-Adding Network, 3rd ed, Harlow: Prentice-Hall.
Veronneau, S. & Roy, J. (2009). Global Service Supply Chains: An Empirical Study of Current Practice and Challenges of a Cruise Line Corporation. Tourism Management, 30: 128–139.
Zhang, X., Song, H. & Huang, G. Q. (2009). Tourism Supply Chain Management: A New Research Agenda, Tourism Management, 30 (3): 345–358.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.