ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพ การเห็นคุณค่าในตนเองกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความสุขในการทำงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพ ระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง และระดับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับความสุขในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) คือ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบวัดทัศนคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามเกี่ยวกับความสุขในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test,
F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา 1) ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( =3.35) การเห็นคุณค่าในตนเองภาพรวมอยู่ในระดับสูง (
=4.29) และความสุขในการทำงานอยู่ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (
=4.24) 2) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธินที่มี อายุแตกต่างกัน มีความสุขในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3) ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
References
กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2539). การควบคุมคุณภาพการพยาบาล เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2552). การสร้างความสุขใน การทำงาน. กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559). [Online] Available: http://www.nesdb.go.th, [2564, สิงหาคม 3].
อภิชาต ภู่พานิช. (2551). การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทํางานของบุคลากรสังกัดสํานักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะหศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัลยารัตน์ อ๋องคณา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้คุณค่าในตน สภาพแวดล้อมในงานกับความสุขในการทางานของพยาบาลประจําการโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำภาภรณ์ ชมเชี่ยวชาญ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการเผชิญ และฟันฝ่าอุปสรรค กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดุษฎี ชอบธรรมดี. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนเขต 2. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนชนก ชูพรรคเจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ระบุคณะ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
สุพิศ ฤทธิ์แก้ว. (2563). ความสัมพันธ์ของความสุขในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการ. 7 (1), 107.
ศิรินธร สายสุนทร. (2558). ความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 14 (3), 434.
Manion, J. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Workplace. Journal of Nursing Administration. 33 (12), 652-655.
Coopersmith, S. (1981). A method for Determining Types of Self-Esteem. Journal of Abnormal and Social Psychology. 5 (7), 87-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.