การถอดบทเรียนกระบวนการการจัดการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การจัดการท่องเที่ยวชุมชน, การถอดบทเรียน, บ้านป่าเหมี้ยง, ชุมชนต้นแบบบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์บริบท ศักยภาพ และความพร้อมของชุมชนบ้าน ป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ 2) เพื่อ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และถอดองค์ความรู้ของกระบวนการการจัดการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมให้พัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้มีการกำหนดประชากรเป้าหมาย และผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านท่องเที่ยวจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานราชการ และกลุ่มจากชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในชุมชน รวมทั้งสิ้น 50 คนโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดองค์ความรู้ รวมถึงการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) จากผลการวิจัย พบว่า 1) ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนที่มีธรรมชาติแบบภูเขาที่ยังบริสุทธิ์สวยงาม อากาศเย็นตลอดทั้งปี และเป็นแหล่งที่มีใบเหมี้ยงขึ้นอยู่ตามธรรมชาติอย่างอุดมสมบูรณ์ ทั้งชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ก็มีทัศนะเชิงบวก และให้ความสนใจในการพัฒนาชุมชนอย่างมาก 2) ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คนในชุมชน หน่วยงานราชการ และนักวิขาการด้านการท่องเที่ยวเกิดความเข้าใจในกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน มีการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของ ชุมชน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนา และขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไปReferences
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564 จาก http://www.otop-village.com/th/places_detail/11931.
ขวัญนภา สุขคร และคณะ. (2555). เรียนรู้ชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน. โครงการภูมิปัญญาสู่คุณค่าเชิงนิเวศ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2555. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง.
ชุติมันต์ สะสอง, สัญญา สะสอง และอารีย์ บินประทาน (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 11-21.
ฐิติมา โรจนไพฑูรย์. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมอนใบชาของฝากจากบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการไทยท่องเที่ยวนานาชาติ, 13(2), 25-46.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ดีไซน์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้: คน ชุมชน และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ ไทยออฟเซต.
พิชญาดา เจริญจิต. (2560). เมี่ยงที่ไม่ใช่หมาก วัฒนธรรมการกินของชาวเหนือ วิถีชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564 จาก https://www.technologychaoban.com/folkways/article_21570.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ไมตรี อินเตรียะ. (2560). ทุนทางสังคม Social Capital. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9 (2): 14-25.
รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์. (2560). การศึกษาบริบทชุมชนเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา วัดพระธาตุจอมปิง จังหวัดลำปาง. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ธนสิทธิ์ เกษตรก้าวไกล. (2563). ป่าเหมี้ยง ชุมชนน่ารัก มาเที่ยวได้ทุกวัน สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564 จาก https://www.kasetkaoklai.com/home/2020/01/ป่าเหมี้ยง-ชุมชนน่ารัก-ม/.
สุวรรณฤทธิ์ วงศ์ชอุ่ม. (2553). ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนา, 2(2553), 47-59.
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. (2559). คู่มือการจัดการความรู้ของชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564 จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420.
อภิรดี ไชยเทพ. (2549). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตป่าอนุรักษ์: กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. (ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.