การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขนาดเล็กของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการจัดการความรู้, กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 15บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการดำเนินการจัดการความรู้ พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้และประเมินรูปแบบการจัดการความรู้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC 0.60-1.00 โดยผู้เชี่ยวชาญคุณวุฒิปริญญาเอก5คน ได้แก่ ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา3 คน นักวิชาการศึกษาและผู้อำนวยการโรงเรียน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามครู14คน นักเรียน92คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์5คนได้แก่รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา2คน กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง2คน พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ7คน ทดลองใช้รูปแบบจากการประชุมผู้ให้ข้อมูล15คน ประเมินรูปแบบโดยการจัดประชุมเชิงวิชาการมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่ทดลองใช้รูปแบบ15คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสรุปประเด็น ผลการวิจัยพบว่า1)สภาพการดำเนินการจัดการความรู้โดยการปฏิบัติของครูและนักเรียนอยู่ในระดับมาก ผลการสัมภาษณ์พบว่าการจัดการความรู้อาจเป็นเรื่องใหม่ของครูควรทำความเข้าใจและไม่เป็นการเพิ่มงานให้ครู 2)รูปแบบการจัดการความรู้เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีมมี8องค์ประกอบ คือ การกำหนดเป้าหมายในการจัดการความรู้ การกำหนดความรู้ที่ต้องการใช้ การสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การกลั่นกรองความรู้ การสร้างสรรค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และการสร้างคลังความรู้ 3)ผลการทดลองใช้รูปแบบตามองค์ประกอบ 8 ด้าน พบว่า ครูเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ 4)ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(=4.29, S.D.=0.66)
References
เครือข่ายโรงเรียนที่ 15. (2560), แผนพัฒนาคุณภาพเครือข่ายโรงเรียนที่ 15 พ.ศ. 2560-2563. กรุงเทพฯ:เครือข่ายโรงเรียนที่ 15.
เครือข่ายโรงเรียนที่ 15. (2561). รายงานการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายโรงเรียนที่ 15. กรุงเทพฯ: เครือข่ายโรงเรียนที่ 15.
จารุวรรณ ฤทธิเพชร. (2552). กระบวนการและปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: การศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนา หาญพล. (2557). แนวคิดและองค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้, ประมวลสาระชุดวิชาการ จัดการความรู้หน่วยที่ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 2) สาขาวิชาศิลปศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นฤมล สายะบุตร. (2553)) รูปแบบการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.
นงนภัส คู่วรัญญ เที่ยงกมล. (2551). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556) วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
พยัต วุฒิรงค์. (2552), การจัดการความรู้และวัฒนธรรมองค์การสู่ความสำเร็จ ใน เจษฎา นกน้อย และคณะ (บรรณาธิการ). นานาทัศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้, (41-72):จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิภัช ดวงคำสวัสดิ์. (2557). "ความรู้เบืองต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้" เอกสารการสอนชุดวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการการจัดการและการจัดการความรู้ หน่วยที่ 9. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนะ บัวสนธ์. (2550) ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2557). "การถ่ายทอดและการแบ่งปันความรู้" เอกสารการสอนชุดวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการจัดการความรู้หน่วยที่ 12. (พิมพ์ครั้งที่ 5), สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักการศึกษา. (2560), แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563).กรุงเทพมหานคร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2550), ตำราชุดฝึกอบรมหลักสูตร "นักวิจัย" (พิมพ์ครั้งแรก).กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561) การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย, กรุงเทพฯ: พริกหวาน จำกัด.
สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558) การจัดการความรู้, (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล (2562) การวิจัยทางการศึกษา แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2553). การควบคุม การวัดประเมินและการจัดการความรู้. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Guskey, T.R. (2000). Evaluating Professional Development. The United State of America:Crowin Press., Inc.
Karthikeyan, P. (2017). A Study of Effective Organizational Learning Though KnowledgeManagement Model. International Journal of Research in Commerce & Management. 8 (4), 34-36.
Roy, R. (2000). A Framework to Create Performance Indicators in Knowledge Management.Cranfield University in UK Department of Enterprise Integration. (Photo copies).
University, Cambridge. (2004). Cambridge Learner's Dictionary. (2 ed.). Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.