การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุรัสวดี คุ้มสุพรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ผู้ช่วยศําสตราจารย์ ดร.ณิรดา เวชญาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาสภาพการบริหารกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 163 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน จำนวน 118 โรงเรียน และสุ่มโดยวิธีแบ่งชั้นภูมิตามอำเภอ และสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาแนวทางในการบริหารโดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักความคุ้มค่าสำหรับแนวทางการบริหารสถานศึกษา พบว่า การบริหารสถานศึกษาควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสม ทันสมัย เป็นที่ยอมรับของบุคลากรในสถานศึกษา ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและควรเปิดโอกาสให้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้โดยอิสระ มีระบบการตรวจสอบการบริหารงานและมีการควบคุม กำกับดูแล การใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า

References

คณะกรรมการการกระจายอำนาจ, สำนักงาน. (2549) คู่มือการปฏิบัติงานการประเมินความพร้อมในการ จัดการศึกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพฯ กระทรวงมหาดไทย.

จุฑาพงษ์ รัตนโชติ.(2559). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลกัธรรมาภิบาลของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉัตรมงคล สูงเนิน. (2561). แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาใน จังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ฉัตรยุพิน บายเที่ยง. (2552). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลตามการรับรู้ของพนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา.ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นิตยา จีนด้วง. (2558), การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8 (2): 101.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด (2554), การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นการ

พิมพ์บุญเกิด พรภิญโญยิ่ง. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาของภาคเอกชนอำเภอเมืองบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ปรัชญา คล้ายชุ่ม. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7 (2): 157.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปราณีตย์ มีคม. (2556). ความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระสมพงศ์ ข้ามสี่. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ภคอร จันทรคณา. (2560). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา, วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8 (2): 7.

รัตนาภรณ์ ส่งเสริม. (2559). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุดารัตน์ สัจจรักษ์. (2559). การศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11 (1).

UNESCAP.(2019). "GOVENANCE". Retrieved on 1 July 2020, from http://www.unescap.org.

World Bank. (1992). Governance and Development. Washington D.C. : The World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15

How to Cite

คุ้มสุพรรณ ส. ., & เวชญาลักษณ์ ณ. . (2021). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 1–19. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/357