การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน , ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอบทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.1) ด้านบริบท 1.2) ด้านปัจจัยนำเข้า 1.3) ด้านกระบวนการ และ 1.4) ด้านผลผลิต 2) ประเมินผลลัพธ์ของโครงการ และ 3) ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบของสตัฟเฟิลบีม รูปแบบของสเตค และรูปแบบของไทเลอร์ในลักษณะผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครู ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เรียน รวมทั้งหมด 138 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินทักษะ แบบวัดทัศนคติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กันผลการประเมิน พบว่า 1) กระบวนการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลลัพธ์โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 3) โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน บรรลุวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกด้าน ผลการประเมินดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ควรมีการดำเนินการต่อไป แต่ควรมีการปรับปรุงโครงการ เช่น การสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน และด้านการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน
References
กรมส่งเสริมการเรียนรู้. (2566). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเรียนรู้
จุฬาลักษณ์ บุปผาวาส. (2558). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้าอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 137-146.
ฉันทลักษณ์ ศรีผา. (2559). การประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ปีงบประมาณ 2558. (รายงานการวิจัย). อุบลราชธานี: สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะะวันออกเฉียงเหนือ.
ดนุพงษ์ บูรณะพิมพ์. (2561). การประเมินโครงการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประภาภรณ์ คำโอภาส. (2562). เรื่อง การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตรการนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด.
ปราริณา อาษาธง. (2565). การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 1 อำเภอ 1 อาชีพ หลักสูตรทอผ้า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(10), 210-227.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
พินโย พรมเมือง, ปราณี คืมยะราช, วิชิต นาชัยสินธุ์, สะอาด ภูนาสรณ์, สถาพร วันนุกูล, ทองคำ เกษจันทร์, สุรศักดิ์ พุทธา และชญาพร วรามิตร. (2559). ผลการประเมินโครงการปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชด้วยการผสมผสานรูปแบบการประเมินของไทเลอร์และสเต้ก. (รายงานการวิจัย). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). การประเมินโครงการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
มาโนชฐ์ ลาภจิตร. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับนักศึกษาพิการ สู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังน้ำเขียว.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ. (มปป.). รูปแบบการประเมินโครงการ. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2566 จาก https://www.home.kku.ac.th/sompopu/spweb/evaluation/evaluation-model.pdf.
สกร. อำเภอยะรัง. (2566). รายงานการประเมินตนเอง สกร.อำเภอยะรัง (Self–Assessment Report) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ปัตตานี: สกร. อำเภอยะรัง.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานการประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
Clara M. Kashar. (2018). Evaluation of a Climate Change Training Program for Local Government Employees. D.Ed. Applied Dissertation, Nova Southeastern University, Florida.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.