วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สมบูรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

วิถี การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 379 คนโดยเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากประชาชนที่อยู่ในแต่ละตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประมาณค่าและแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1) วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิติของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคามมีลักษณะอย่างเป็นทางการในภาพรวมพบว่ามีค่าระดับมากที่สุด ( X̅ = 4.55, S.D. = 0.48) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า วิถีการเรียนรู้ตามศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยเป็นหลักอยู่ในระดับมากที่สุด ( X̅ = 4.78, S.D. =0.33) ส่วนวิถีการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการในภาพรวมพบว่ามีค่าระดับมากที่สุด (X̅ = 4.55, S.D. = 0.48) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า วิถีการเรียนรู้ที่มาจากความสนใจและความถนัดจะมีระดับค่ามากที่สุด (X̅ = 4.88, S.D.= 0.05) ซึ่งวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองเป็นหลัก 2) ปัจจัยที่มีผลวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม พบว่าทั้งปัจจัยทางด้านสังคม ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.69, SD = 0.31) ทั้งนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจจะมีผลต่อวิถีการเรียนรู้อยู่ในระดับค่ามากที่สุด (X̅ = 4.79, SD = 0.21) 3) แนวทางการส่งเสริมวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จะมาจากทั้งภาครัฐ และเอกชนซึ่งมีแนวทาง 4 ด้าน หรือ 4 P’s ซึ่งประกอบด้วย 1 Policy (นโยบาย) 2 Pedagogy (ด้านการศึกษา) 3 Process (กระบวนการ) และ 4 Participation (การมีส่วนร่วม)

References

กระทรวงมหาดไทย. (2566). ข้อมูลประชากรอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม: ฝ่ายทะเบียน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักนายกรัฐมนตรี.

ธงชัย สมบูรณ์. (2564). การศึกษาตลอดชีวิตในสังคมโลก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิ่มอนงค์ ใจโสภาพ. (2566, พฤศจิกายน 7). วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2558). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทยา ระถี. (2567). วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม, สัมภาษณ์.

ไพฑูรย์ เกษแก้วเกลี้ยง. (2566). วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม นายอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม, สัมภาษณ์.

สกุล จันดี. (2551). การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักศูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สิตาภา เกื้อคลัง. (2561). องค์ประกอบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ กศน. ตำบล.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนทร สุนันท์ชัย. (2543). วิวัฒนาการการศึกษานอกระบบของไทย ในการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมาลี สังข์ศรี. (2544). รายงานการวิจัยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (เอกสารอัดสำเนา)

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก http://www.nesdc.go.th.

อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล. (2564). ความไม่เท่าเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กไทย. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2566 จาก https://workpointtoday.com/educational-inequality-2/.

Hensen, G. (2024). Good Process. Retrieved on January 10, 2024 from https://www.bptrends.com/publicationfiles/five11-09-art-whatmakesagoodprocess-bptrends.pdf.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Medel-Anonuevo, C., Ohsako, T., & Mauch, W. (2001). Revisiting Lifelong Learning for the 21st Century. Hamburg: UNESCO Institute for Education.

World Health Organization. (2013). Exploring Patient Participation in Reducing Health-care-related Safety Risks. Copenhagen Denmark: WHO Regional Office for Europe.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-14

How to Cite

สมบูรณ์ ธ. . (2025). วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม . วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 21(1), 29–43. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/352