การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม: กรณีศึกษาของธนาคารออมสิน

ผู้แต่ง

  • พิชชานันท์ พัฒนานุโรจน์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร. อรพรรณ คงมาลัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

องค์กรนวัตกรรม, นวัตกรรม, นวัตกรรมองค์กร , สมรรถนะ, การถ่ายโอนความรู้ , กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของธนาคารออมสิน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของธนาคารออมสินที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมในระดับต่าง ๆ จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสอบถามออนไลน์ลักษณะคำถามปลายปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ซึ่งผ่านการทดสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของทุกข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.500–1.000 และมีค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ของชุดแบบสอบถามเท่ากับ 0.954 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อหาองค์ประกอบร่วมและจัดกลุ่มองค์ประกอบใหม่ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของธนาคารออมสิน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย 5 กลุ่มองค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนวัตกรรมองค์กร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบคือ การนำองค์กรเชิงนวัตกรรม และความร่วมมือเชิงนวัตกรรม ปัจจัยสมรรถนะของบุคลากร ปัจจัยการถ่ายโอนความรู้ และปัจจัยกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วยปัจจัยละ 1 องค์ประกอบ

References

กนกวรรณ ภู่ไหม. (2559). การศึกษาปัจจัยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมองค์กร บริบทธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทียนชัย อร่ามหยก และกัญญามน อินหว่าง. (2562). รูปแบบการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(1), 127-139.

ปาริฉัตร หิรัญสาย. (2559). สมรรถนะของบุคลากรและการถ่ายโอนความรู้ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร บริบทธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชชาภา ตันเทียว. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาการประปานครหลวง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภูกฤษ สถานสุข. (2562). การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในกิจการผลิตไฟฟ้าของรัฐ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). นวัตกรรมและความยั่งยืนของธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566 จาก https://setsustainability.com/page/innovation.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566 จาก https://www.nia.or.th/bookshelf/2?page=5.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/jJ.

อรพรรณ คงมาลัย. (2561). บทบาทของนวัตกรรมองค์กร สมรรถนะเชิงนวัตกรรม และการถ่ายโอนความรู้ต่อนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(1), 34-42.

อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2562). เทคนิควิจัยด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Al-Dmour, A., Al-Dmour, R. & Rababeh, N. (2020). The Impact of Knowledge Management Practice on Digital Financial Innovation: the Role of Bank Managers. VINE Journal of Information and Knowledge Management Systems, 51(3), 492-514.

Chaar, S. & Easa, N. (2020). Dose Transformational Leadership Matter for Innovation in Banks? The Mediating Role of Knowledge Sharing. International Journal of Disruptive Innovation in Government, 1(1), 36-57.

Chutivongse, N., & Gerdsri, N. (2011). Key Factors Influencing the Development of Innovative Organization: An Exploratory Study. Portland International Center for Management of Engineering and Technology (PICMET) Conference 2011 31 July-4 August 2011. Portland, Oregon, USA.

Chutivongse, N. & Gerdsri, N. (2019). Creating an Innovative Organization. Journal of Modelling in Management, 15(1), 50-88.

Duah, H. & Opoku, P. (2019). Reward, Motivation and Creativity: Moderated by the Need for Power. International Business Research, 12(3), 1-16.

Lunneborg, C. E. (1979). Applied Psychological Measurement. Review of the book Psychometric Theory, 3(2), 279-280. by Nunnally & Jum, C.]. New York: McGraw-Hill

Otundo, J. (2023). Knowledge Transfer and Organization Capabilities. International Journal of Research in Education Humanities and Commerce, 14(2), 19-26.

Pittz, T. & Adler, T. (2023). Open Strategy as a Catalyst for Innovation: Evidence from Cross-sector Social Partnerships. Journal of Business Research, 160(1), 1-10.

Taherdoost, H., Sahibuddin, S. & Jalaliyoon, N. (2022). Exploratory Factor Analysis; Concepts and Theory. Advances in Applied and Pure Mathematics, 27(1), 375-382.

Uzkurt, C., Kumar, R., Kimzan, H. & Eminoglu, G. (2013). Role of Innovation in the Relationship Between Organizational Culture and Firm Performance. European Journal of Innovation Management, 16(1), 92-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-14

How to Cite

พัฒนานุโรจน์ พ., & คงมาลัย อ. (2025). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม: กรณีศึกษาของธนาคารออมสิน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 21(1), 115–130. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/340