โรคสมาธิสั้น: บทบาทครูมืออาชีพในการช่วยเหลือในโรงเรียน

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญเลี้ยง ทุมทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ

โรคสมาธิสั้น หรือ Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) คือ กลุ่มอาการที่เป็นความผิดปกติของพัฒนาการ อันเกิดจากความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ทำให้มีปัญหาในการควบคุมตนเองมีอาการซน ไม่อยู่นิ่ง ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น และขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง (Inattention) โดยพฤติกรรมเหล่านี้มีมากกว่าพฤติกรรมปกติของเด็กในวัยเดียวกัน ทำให้เสียหน้าที่ในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือการเข้าสังคมสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กวัยเรียน ปัจจุบันยังไม่มีการอธิบายสาเหตุการเกิดโรคสมาธิสั้นที่ระบุได้ชัดเจนเชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากพันธุกรรม และความบกพร่องทางสมอง ส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงแต่เป็นปัจจัยร่วมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมาธิสั้นได้มากกว่าทั่วไป การคัดกรองโรคสมาธิสั้นเป็นบทบาทหนึ่งที่ครูจะช่วยให้ค้นพบเด็กสมาธิสั้นได้เร็ว ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการดูแลเด็กได้ดีขึ้น โดยในปัจจุบันการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดคือ การรักษาแบบผสมผสาน ระหว่างการใช้ยา เพื่อช่วยปรับการทำงานของสมอง ร่วมไปกับการปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและการช่วยเหลือด้านการเรียน เพื่อให้สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติ

References

ชาญวิทย์ พรนภดล และคณะ. (2557). การพัฒนาแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทย อายุระหว่าง 3-18 ปี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59 (4), 335-344.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และคณะ. (2557). ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 21 (2), 66–75.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). สมาธิสั้น. [Online]. Available URL: http://www.happyhomeclinic.com/sp03-adhd.htm [2550, มิถุนายน 5].

ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร และคณะ. (2559). คุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ SNAP-IV และ SDQ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง-สมาธิสั้น (SDQ-ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59 (2), 97-110.

เบญจรัตน์ นุชนาฏ์. (2561). พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี. [ออนไลน์]. Available from: https://www.gotoknow.org/posts/305008. [2563, ธันวาคม 5].

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. (2560). คู่มือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น และบทบาทของครูในการดูแลเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามพิมพ์นานา.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2561. [ออนไลน์] Available from: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/gazette.aspx. [2563, พฤศจิกายน 4].

ADHD Institute. (2018). Burden of ADHD 2018. [online]. Available from: http://adhd-institute.com/burden-of-adhd/impact-of-adhd/social-impact/. [2020 june 5].

Chalotorn, P. and Other. (2019). The Prevalence of Adult ADHD among Parents of Patients with ADHD at Siriraj Hospital. Journal of Public and Health. 29 (1), 57-68.

Harpin VA. (2005). The effect of ADHD on the life of an individual, their family, and community from preschool to adult life. Archives of Disease in Childhood. 90, i2-i7.

Piyasil, V., & Katumarn P. (2007). Textbook of Child and Adolescent Psychiatry 2nded. Bangkok: Tana Press.

Puthisri, S. & Yingsaree, S. (2003). The Prevalence of Psychiatric Disorders. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 49, 213-222.

Weerakul, J. (2014). Attention Deficit Hyperactivity Disorder in Children. Journal of BUDDHACHINARAJ MEDICAL. 31 (1), 65-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

ทุมทอง บ. (2022). โรคสมาธิสั้น: บทบาทครูมืออาชีพในการช่วยเหลือในโรงเรียน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 227–240. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/278