การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • เปรมปรีดา ทองลา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • นันทภัค บุรขจรกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, ชุมชนปัถวี

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี 2. ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี และ 4. นำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม 1. หน่วยงานภาครัฐและ 2. คนในชุมชน รวม 30 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างแบบประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการประชุมกลุ่มย่อย จากนั้นตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนท่องเที่ยวบ้านปัถวีพบว่า ชุมชนปัถวีมี5 องค์ประกอบ 1) สิ่งดึงดูดใจชุมชนปัถวีมีสิ่งดึงดูดใจคือการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ 2) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเข้าถึงสถานที่ได้รวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย 3) การบริการที่พัก ภายในชุมชนยังไม่มี 4) กิจกรรมการท่องเที่ยว 1. ชมสวนอินทรีย์ชุมชนปัถวี 2. ชมการแปรรูปผลผลิต 3. ชิมทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง 4. ชื้อของที่ระลึก 5) สิ่งอำนวยความสะดวก ชุมชนปัถวี มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ 2. ผลการประเมินศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนปัถวี มีค่าเฉลี่ยที่ 66.45 อยู่ในระดับดี 3. เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนปัถวี โดยมีทั้งหมด 6 แผน คือ 1) การบริหารด้านจัดการการท่องเที่ยว 2) ด้านการตลาด 3) ด้านกิจกรรม 4) ด้านผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 5) ด้านกายภาพและ 6) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว 4. เสนอเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนปัถวี ทั้งในและนอกฤดูการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2553). สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. [Online] Available: https://chainat.mots.go.th/ewt.dl_link.php?nid=788. [2563, ตุลาคม 1].

กรมการท่องเที่ยว. (2553). มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. [Online] Available: https://chainat.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=788. [2563, ตุลาคม 1].

นิออน ศรีสมยง. (2525). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวในชนบทและทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราณี อิสิชัยกุล. (2556). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เดชา บุญค้ำ. (2557). การวางแผนผังบริเวณ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐไท พงษ์ศักดิ์. (2563, ตุลาคม 01). ข้อมูลทั่วไปชุมชนปัถวี, สัมภาษณ์

ลินจง โพชารี. (2554). การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนบ้านซำตารมย์ ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วุฒิชัย คุณเจตน์. (2553). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนรักษ์เขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2543). การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

Dickman, S. (2000). Tourism: An introductory text. 3nd edition, Hodder Education: Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

ทองลา เ. ., & บุรขจรกุล น. . (2022). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 175–190. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/273