การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่และการวัดการกระจายรายได้ของผลิตภัณฑ์ขนมลา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่คุณค่า, สัดส่วนรายได้, มูลค่าเพิ่ม, การกระจายรายได้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ และศึกษาการวัดการกระจายรายได้ของผลิตภัณฑ์ขนมลา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 6 กลุ่ม ในการวิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลกระบวนการผลิต ราคาขาย ต้นทุนในการผลิตและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากแบบสอบสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า สัดส่วนรายได้ และมูลค่าเพิ่ม ทั้งยังทำการเก็บข้อมูลการบันทึกรายได้ของชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายรายได้ของชุมชนผู้ผลิตขนมลา ผลวิจัยพบว่า 1) ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ผลิตภัณฑ์ขนมลาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถแบ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำทั้งหมด 6 ภาคี ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้แปรรูปขั้นต้น ผู้แปรรูปขั้นสุดท้าย ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก และผู้บริโภค 2) ผลการวิเคราะห์สัดส่วนรายได้และมูลค่าเพิ่มของแต่ละผลิตภัณฑ์ในห่วงโซ่คุณค่าใหม่ พบว่าการแปรรูปผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบได้สูงสุดถึง 76.46 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขนมลาแผ่น สำหรับสัดส่วนรายได้ในแต่ละภาคี พบว่าผู้ผลิตมีสัดส่วนรายได้ต่ำสุด ส่วนผู้แปรรูปและผู้ขายส่งมีสัดส่วนรายได้สูงสุด 3) ผลการวัดการกระจายรายได้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 6 กลุ่ม มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 3,962,990.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.05 และการกระจายรายได้นอกพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 62,751.58 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของการกระจายรายได้ทั้งหมด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตรงตามความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชน
References
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานผลการวิจัย. จังหวัดเพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐิติมา บูรณวงศ์ ศณัทชา ธีระชุนห์ และธัชชา สามพิมพ์. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่คุณค่าของขนมลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กองทุนส่งเสริมวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.).
ฑัตษภร ศรีสุข นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ และสุบิน แก้วเต็ม. (2563). ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 14 (2), 505-521.
ณฐมน ทรัพย์บุญโต รสริน สุภารัตน์ ชนนพร ยะใจมั่น ชาดาพร ปงอ้อคำ ปภาวรินทร์ ศรัทธาบุญ และจารุวรรณ ผุดผ่อง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษา OTOP ประเภทอาหาร จังหวัดพะเยา. 8-9 กันยายน 2559. อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 230-237.
ณัฐภัณฑ์ พงษ์ณะเรศ นิภาพร กลิ่นระรื่น และพิทักษ์ ศิริวงศ์ (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและช่องทางการจัดจำหน่าย ของผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์แปรรูป สมุนไพรสุมาลี ตำบลหนองหัวเเรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา.20 มกราคม 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 93-102.
ธนวัฒน์ ศรีติสาร. (2561). ศึกษาเรื่องห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิธิดา พระยาลอ และลำปาง แม่นมาตย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (1), 38-51.
ภัทรสิญากร คณาเสน. (2558). แนวทางการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในธุรกิจโรงไม้สับ กรณีศึกษา บริษัทธัญญเจริญยโสธรวู๊ดชิพ จากัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมลากรอบ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. 10 พฤษภาคม 2556. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 251-259.
มาริษ หัสชู. (2563). การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า สำหรับแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการสินค้าโอทอป. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยรรยง ศรีสม. (2553). ห่วงโซ่คุณค่า (ตอนจบ) Value chain ในงานโลจิสติกส์. [Online]. Available: https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/TN211A_p039-44.pdf. [2565 มกราคม 4].
ศิริเชษฐ์ สังขะมาน (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินาด ตรีวรรณไชย สุกำพล จงวิไลเกษม และปพิชญา แซ่ลิ่ม (2564). การวัดผลกระทบต่อการกระจายของรายได้ของชุดโครงการ “มหาวิทยาลัยกับการพัฒนา กลไกเพื่อดูดซับเศรษฐกิจภายในพื้นที่”. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. [Online]. Available: http://www.nesdc.go.th. [2564 ธันวาคม 20].
อุทิศ ทาหอม สำราญ ธุระตา ชุลีพร บุ้งทอง และคเนศ วงษา. (2561). รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตำเปียงทรงเครื่อง” เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนาสังคม. 20 (2), 35-61.
Kotler, P. (2000). Marketing Management. (11th ed.). Upper Sanddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Krippendorff, K. (2004). Content analysis: an Introduction to its Methodology. 2nd ed.USA: Sage Publications, Inc
Michael E. Porter. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: MacMillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.