แนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าในกลุ่มบริษัท ABC

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย ปทุมารักษ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดร.ชิตพงษ์ อัยสานนท์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเลือกใช้, ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า, กลุ่มบริษัท ABC

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า 2) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า 3) ศึกษาแนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ระหว่าง 0.67–1.0 กลุ่มตัวอย่าง 239 คน สุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าในด้านการสรุปรายงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4.65 ด้านเครือข่ายและการเชื่อมโยงข้อมูล ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4.21 ด้านการใช้งานของพนักงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.92 และ ด้านการใช้งานตามฟังก์ชั่นกระบวนการทำงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.87 ตามลำดับ (2) คุณลักษณะส่วนบุคคลในเรื่องของแผนกมีผลต่อการเลือกใช้ระบบในด้านฟังก์ชั่นกระบวนการทำงาน อายุและแผนกมีผลต่อการเลือกใช้ระบบในด้านการใช้งานของพนักงาน อายุ ระดับการศึกษา และ แผนกส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า ด้านเครือข่ายและการเชื่อมโยงข้อมูล และแผนกมีผลต่อการเลือกใช้ระบบในด้านการสรุปรายงาน โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.050 (3) แนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าในกลุ่มบริษัท ABC ประกอบด้วย ด้านฟังก์ชั่นกระบวนการทำงาน ด้านการใช้งานของพนักงาน ด้านเครือข่ายและการเชื่อมโยงข้อมูล และด้านการสรุปรายงาน

References

จตุพร วรกิจเจริญ. (2559). การศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการ คลังสินค้าด้วยระบบ Warehouse Management System (WMS) กรณีศึกษา บริษัท เจ.เอส. แพ็ค แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด. วารสารการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3 (1), 55-60.

ฐาปนา บุญหล้า และ นงลักษณ์ นิมิตรภูวดล. (2555). การจัดการโลจิสติกส์: มิติซัพพลายเชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐวุฒิ วงษ์วรรณ ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ และณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโรงงานทูน่ากระป๋อง ด้วยระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7 (1), 126-140.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์ แอนด์ดี.

นภาภรณ์ หอมอ่อน. (2545). การตัดสินใจอยู่หอพักสตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ประมวล พรมไพร และ ฉัตรธาร ลิ้มอุปถัมภ์ (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคลังสินค้ากับการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ซีเอส สตีล โปรดักส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารมหาบัณฑิต สาขา บริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี.

ภัทรา อุดมกัลยารักษ์. (2561). แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานแปรรูป เหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม กรณีศึกษา บรัท พีเอ็มพี มอเตอร์โปรดักส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นครินทร์ ผดุงเทียน. (2563). รายงานผลประกอบการประจำปี 2563 ในกลุ่มบริษัท เอบีซี. [2564, มกราคม 6). บริษัท เอบีซี จำกัด. 5.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิศิษฏ์ วัฒนานุกูล. (2552). การจัดการไอทีลอจิสติกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิราภรณ์ วิเศษพล. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้าและการกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กรณีศึกษา บริษัท TTT จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สมฤทัย ประดิษฐ์สิน, (2557). ระบบมาตรฐาน WMS ในการจัดการคลังสินค้า. [Online]. Available: https://www.23somruthai/assignments. [2563, ธันวาคม 10].

สุภาภรณ์ ชินารักษ์ นพปฎล สุวรรณทรัพย์ และ ไชยรัช เมฆแก้ว. (2561). การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ในการจัดการคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห้องเย็น กรณีศึกษา: บริษัท ปิติเซ็นเตอร์ห้องเย็น จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.

อัจจิมา เชิดชม และ ปณิธาน พีรพัฒนา. (2562). การปรับปรุงระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเพื่อกำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้า กรณีศึกษาศูนย์กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2 (1): 65-74.

อินทัช ประชานันท์ และคณะ. (2564). การศึกษาการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้า และการจัดเก็บสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เอ็กซ์เดฟ จำกัด. วารสารวิจัยวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 1 (1): 113-120.

Ramaa, A., Subramanya, K.N. and Rangaswamy.T.N. (2012). Impact of Warehouse Management System in a Supply Chain. International Journal of Computer Applications. 2 (1): 45-51.

Y. Prasetyawan and N. G. Ibrahim. (2020). Warehouse Improvement Evaluation using Lean Warehousing Approach and Linear Programming. (1st ed.). IOP Conference Series: Materials Science and Engineering. IOP Publishing.

Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

ปทุมารักษ์ ฉ. ., & อัยสานนท์ ช. . (2022). แนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าในกลุ่มบริษัท ABC. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 121–138. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/260