การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ร้อยตำรวจโท เพิ่มยศ ตันสกุล คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การป้องกันและแก้ไข, การค้าประเวณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.50–1.00 และทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach's alpha เท่ากับ 0.872 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุระหว่าง 20-29 ปี มีสถานภาพโสดมากที่สุด ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี มีอาชีพ ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ/ ลูกจ้างของรัฐ มากที่สุด ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 - 19,999 บาท ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ส่วนระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพ แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กฤษฎา นาคประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบ ศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

กานติมา ครุฑธาโรจน์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ, จอมเดช ตรีเมฆ, นพพล อัคฮาด, พิมพ์ภัสสร เนติโพธิ์, ศรันยภัทร เสียงสูง และสุนิษา ราชภัณฑ์. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการค้าประเวณีหญิงจากประเทศ ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชำนาญ มีกะจิตร์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของชุมชนเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัฐกฤษฏ์ จินดาพงศ์เจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐปภัสร์ ณรงค์กิจพาณิช. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประวิทย์ สองแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการโจรกรรมรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ในเขตสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2526). การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม: หลักทฤษฎีและมาตรการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2560). น่าห่วง พม.เชียงใหม่เฝ้าระวังเด็กต่ำกว่า 12 เสพสื่อออนไลน์ถูกชักชวนค้าประเวณีมากขึ้น. [Online]. Available: https://mgronline.com/local

/detail/9600000067962. [2565, มกราคม 6].

พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์. (2553). กว่าจะเป็นตำรวจผู้รับใช้ชุมชน. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง.

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539. (2539, 22 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 54 ก, หน้า 1-13.

เพชรัตน์ พ่วงจาด. (2558). บทบาทของภาครัฐและประชาสังคมต่อปัญหาการค้าประเวณี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพโรจน์ โกษา. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการภาครัฐ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก. (2562). การแสวงหาประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณี. [Online]. Available: https://www.ecpat-th.org/situations. [2565, มกราคม 6].

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.

ศุภรักษ์ โพธิ์ศรี. (2556). การป้องกันอาชญากรรมด้วยตนเองของประชาชนที่พักกอาศัยอยู่ในเขตที่ 5 และ 8 ของสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุดสงวน สุธีสร. (2558). อาชญาวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสกสัณ เครือคำ. (2562ก). อาชญากรรม อาชญาวิทยา และงานยุติธรรมทางอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 2).นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

เสกสัณ เครือคำ. (2562ข). การวิจัยเบื้องต้นด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). สาระน่ารู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ชุด การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2564). จำนวนประชากรกลางปี จังหวัดเชียงใหม่ แยกชาย หญิง รายอายุ รายอำเภอ เป็นรายอำเภอ. [Online]. Available: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/detail_article2.php?info_id=670. [2565, มกราคม 6].

อรทัย ก๊กผล. (2548). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

อามร อู่แก้ว. (2558). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตสถานีตำรวจภูธรเขาสิงโต จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation:Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Taro Yamane (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

ตันสกุล เ. . ., & วิวัฒนาภรณ์ อ. . . (2022). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 101–120. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/258