การพัฒนาแบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาสำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือ
คำสำคัญ:
แบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครู, เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา, เกณฑ์ปกติบทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือ และสร้างเกณฑ์ปกติ สำหรับใช้กับแบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือ จำนวน 400 คน จากนิสิตทั้งหมด 5,510 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา ชนิดปรนัยเลือกตอบ จำนวน 60 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 1 ฉบับ ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.70 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.54 ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.895 2. เกณฑ์ปกติของ (Norms) แบบทดสอบกลุ่มวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคะแนนดิบตั้งแต่ 0 ถึง 60 คะแนน T ตั้งแต่ T11 ถึง T90
References
โกศล มีคุณ. (2533). การวัดจริยธรรม. ราชบุรี: วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี.
ชวาล แพรัตกุล. (2520). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
บรรดล สุขปิติ. (2543). การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดและวิธีการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2544). การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2545). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 100302: การวัดและประเมินผลการศึกษา เบื้องต้น. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3.) กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: กาฬสินธ์ประสานการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). คู่มือประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563. (7 พฤษภาคม 2563). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 109 ง). หน้า 15.
Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.