การพัฒนาแบบวัดทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุจารี สำอางค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม, แบบวัด, เกณฑ์ปกติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของแบบวัดทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัยจำนวน 831 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2563 จากโรงเรียนทั้งหมด 27 โรงเรียน ที่ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่สร้างขึ้นเป็นแบบวัดทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม ลักษณะเป็นแบบวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การคิดอย่างสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับบุคคลอื่นอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลสำเร็จ คุณภาพของแบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาของคำนิยามของทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม มีค่าระหว่าง 0.6–1 ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัด มีค่าระหว่าง 0.6–1 ค่าอำนาจจำแนกทั้งสามองค์ประกอบ มีค่าระหว่าง 0.26–0.67 ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.925 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับสูง ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวมีค่าเป็นบวก ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0.41-0.75 เกณฑ์ปกติในด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ T ปกติ มีค่าระหว่าง T10–T71 ด้านทำงานร่วมกับบุคคลอื่นอย่างสร้างสรรค์ T ปกติมีค่าระหว่าง T11–T69 ด้านการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลสำเร็จ T ปกติ มีค่าระหว่าง T12–T69 และแบบวัดทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งฉบับ T ปกติ มีค่าระหว่าง T7–T71

References

คณิตพันธุ์ ทองสืบสาย. (2552). การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมศึกษาสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 44 (1): 1-16. [Online]. Available: https://www.researchgate.net/profile/Chaiyun-Sakulsriprasert/publication/308692590_karwikheraahxngkhprakxbcheingyunyan/links/58d1d861a6fdcc3fe78529a3/karwikheraahxngkhprakxbcheingyunyan.pdf. [2564, มกราคม 12].

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2527). หลักการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปวริศา ยอดมาลัย. (2555). ปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิยาลัยบูรพา.

ปวีณา มะแซ. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิมพ์พร ทะสี. (2558). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม แห่งศตวรรษที่ 21. [Online]. Available: https://sites.google.com/site/pimporntasee0024/thaksa-kar-reiyn-ru-laea-nwatkrrm-haeng-stwrrs-thi-21. [2563, กันยายน 23].

ภัทราปวีณ์ ศีสมพันธ์. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

มุกทราย บวรนิธิกุล. (2553). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ลัดดา รักจรรยาบรรณ. (2557). การพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง และทัศนีย์ ชาติไทย. (2562). การพัฒนาแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33 (108): 28-33.

วรรณวิมล ฉัตรวรกิจพาณิช. (2546). การพัฒนาแบบวัดทักษะการจัดการสำหรับนักเรียนระดับอาชีวะศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. [Online]. Available: http://www.curriculumandlearning.com/index.php?page. [2563, กรกฎาคม 10]

สมชาย รัตนทองคำ (2556). การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. [Online]. Available: https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/13eva56.pdf [2563, ตุลาคม 6].

สันทัด พรประเสริฐมานิต. (2549). หลักการสร้างเครื่องมือในการทดสอบทางจิตวิทยา. (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2561. [Online]. Available: http://www.sesa17.go.th/site/images/Publish2. [2563, กรกฏาคม 10].

สำเริง บุญเรืองรัตน์ (2554). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาพร จันทร์ดอกไม้สืบ. (2553). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hair J.F., Black W.C., Babin B.J., Anderson R.E. & Tatham R.L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

สำอางค์ ส. ., & องอาจวาณิชย์ น. . (2022). การพัฒนาแบบวัดทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 67–83. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/250