จิตวิญญาณความเป็นครูและการอุทิศตนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสของครูเชาวลิต สาดสมัย (ครูเชาว์)

ผู้แต่ง

  • มนัสวี แก้วผลึก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วัฒนา สร้อยสังวาลย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วาศิณี สุวรรณระวี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

จิตวิญญาณความเป็นครู, การอุทิศตน, เด็กด้อยโอกาส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชีวประวัติของครูเชาวลิต สาดสมัย (ครูเชาว์) ใน 3 ช่วงชีวิต 2) จิตวิญญาณความเป็นครู และ 3) การปฏิบัติในการอุทิศตนเพื่อเด็กด้อยโอกาสของครูเชาวลิต สาดสมัย (ครูเชาว์) โดยเป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 2 คน และเยาวชน จำนวน 2 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบกับการสัมภาษณ์ และการจดบันทึกข้อมูล หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์ด้วยวิธี IOC ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ครูเชาวลิต สาดสมัย มีเส้นทางช่วงชีวิต 3 ช่วงชีวิต ได้แก่ วัยเยาว์ ครูเชาว์เติบโตมาจากบ้านราชาวดี (ชาย) ซึ่งมีร่างกายไม่สมประกอบ และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสในสังคมวัยรุ่น ออกจากบ้านราชาวดีมาเรียนโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าสู่วัยทำงานจึงค้นหาประสบการณ์แปลกใหม่ผ่านหนังสือพิมพ์พลิกชะตาชีวิตสู่การเป็นครูอาสา 2) จิตวิญญาณความเป็นครู ครูเชาว์เป็นผู้ที่มีจิตใจและเห็นคุณค่าในอาชีพครู มีความรักและเมตตาต่อเด็กโดยช่วยเหลือ และเอาใจใส่อย่างเสมอภาค พัฒนาเด็กตามศักยภาพ ทุ่มเทอย่างเต็มที่ รับฟังเหตุผล และส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 3) การปฏิบัติในการอุทิศตนเพื่อเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา โดยสร้างภาคีเครือข่ายร่วมกับเด็กและผู้ปกครอง และทำงานร่วมกับองค์กรภายนอก โดยสร้างเครือข่ายเพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ และมอบทุนการศึกษา ซึ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กและคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

References

กรมการศึึกษานอกโรงเรียน. (2539). เด็กด้อยโอกาส. [Online]. Available: https://www.salika.co/ 2021/06/02/non-formal-and-informal-education-thailand/ [2564, มีนาคม 15].

กระทรวงศึึกษาธิการ. (2559). สภาเสวนาการศึึกษา. [Online]. Available: http://www.onec.go.th/ th.php/book/BookView/1546. [2564, มีนาคม 1].

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. [Online]. Available: https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/main.php?filename=index. [2564, มีนาคม 14].

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ.(2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 23 (1), 30-50.

ณัฐชา มิตรกูล. (2556). การพัฒนาวีดิทัศน์เชิงสารคดีเพื่อสร้างทัศนคติในการอุทิศตนเพื่อสังคมสำหรับครูดนตรีรุ่นใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธาดา ราชกิจ. (2562).การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร. [Online]. Available: https://th.hrnote.asia/ orgdevelopment/190523-human-relation-organization/. [2564, มีนาคม 23]

ปิยะวัฒน์ กรมระรวย. (2560). โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์. (2559). สถานการณ์ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย มิถุนายน 2559 ปี 7 (1) มูลนิธิทีชฟอร์ ไทยแลนด์ (ออฟฟิศ). (2564). ครูอาสา. [Online]. Available: https://www.teachforthailand.org/?gclid=CjwKCAjw3_KIBhA2EiwAaAAlir4ss5QdFzjw77OknSMn8PNUDGKHzs8jw1AeWAdNev0KqWjDWJ4xRoC8SIQAvD_BwE. [2564, มีนาคม 19]

ภัทรภร พลพนาธรรม และคณะ. (2553). เครือข่ายทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้อย อำเภอ บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2560) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2017 ด้านเด็กและเยาวชน. [Online]. Available: http://www.thaifstt.org/index2/index.php/32-2016-06-25-10-40-16/2016-06-25-10-40-40/2017/184-2017-11-08-02-34-27. [2564, มีนาคม 3]

รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). ปรัชญาวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันทนีย์ วาสิกะสิน, สุรางรัตน์ วศินารมณ์ และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิเศษ สุวรรณภูมิ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 23 (1) ,25-54.

ศุภลักษณ์ ทัดศรี และอารยา พรายแย้ม. (2554). จิตวิญญาณในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สอ เสถบุตร. (2541). พจนานุกรมอังกฤษ : ไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545) เดอะ บุคส์. (2556). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : เดอะบุคส์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึึกษา. (2548). นโยบายการจัดการศึึกษาสําหรับเด็กด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึึกษา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึึกษา. (2559). สภาการศึึกษาเสวนา. [Online]. Available: http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1546. [2564, มีนาคม 15].

องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ. (2553). เด็กด้อยโอกาส. [Online]. Available: https://www.unicef.org/thailand/th/ [2564, มีนาคม 15].

อมรรัตน์ แก่นสาร. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1) (มกราคม – เมษายน 2560) : 7-15.

Snyder, C.R. & Lopez, S. (2007). Positive Psychology: The Scientific and Practical Exploration of Human Strengths. London: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

แก้วผลึก ม. ., สร้อยสังวาลย์ ว. ., & สุวรรณระวี ว. . (2022). จิตวิญญาณความเป็นครูและการอุทิศตนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสของครูเชาวลิต สาดสมัย (ครูเชาว์). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 51–66. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/247