การจัดกิจกรรมการเล่นเสรีในมุมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี คงพรม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สรวงพร กุศลส่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, กิจกรรมเสรี, แนวคิดไฮสโคป, ทักษะการคิดเชิงเหตุผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเล่นเสรีในมุมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปและเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 4-5 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านท่าพล (ท่าพลวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 27 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 17 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ชื่อโรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นเสรีในมุมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 20 แผน คู่มือการจัดกิจกรรมการเล่นเสรีในมุมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 20 กิจกรรม แบบประเมินทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 2 ชุด ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการเล่นเสรีในมุมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับเด็กปฐมวัย มีคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมอยู่ที่ 4.21 ( x̅ = 4.21) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ ระดับมาก ผลปรากฏว่า เวลาและการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยโดยภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 13.56 (S.D. = 2.77) หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 16.56 (S.D. = 2.15) ส่งผลให้มีคะแนนพัฒนาสูงขึ้นมีค่าเฉลี่ย 3.00 (S.D. = 1.14) แสดงให้เห็นว่า หลังการจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงเหตุผลสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรรณิการ์ สุริยะมาตร. (2560). การพัฒนากิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคปในการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอนบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฬาลักษณ์ คำมูล. (2559). การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ความสามารถทางคณิตศาสตร์ และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษา มหาวิทยาลัยบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดาวรุ่ง ผ่องใส. (2559). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสถานการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดุษฎี อุปการ. (2560). การพัฒนากระบวนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญา และการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีปฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธราธิคุณ ระหา. (2559). การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษา มหาวิทยาลัยบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญส่ง วงค์คำ. (2557). วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. สกลนคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปภาภรณ์ ชัยหาญชาญชัย. (2558). การรับรู้ถึงความใกล้ชิดกับพ่อแม่และการเปิดเผยตนเองของลูกในวัยรุ่น. วารสารนิเทศศาสตร์. 33 (2): 110.

ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่นเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32 (1): 20.

พัณณ์ณภัค ปุณณภาศศิภัส. (2559). ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมของนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยุพาวรรณ กันภัย. (2559). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแบบวางแผนปฏิบัติทบทวนที่มีต่อการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดท่ามะปราง จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิลันดา ตรีตุนา. (2560). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไฮสโคปที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย. การค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุมาลี เทพพร. (2561). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลและทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมคิด ศรไชย. (2557). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สยุมพู สัตย์ซื่อ. (2560). การพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดสำหรับเด็กปฐมวัยศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สรวงพร กุศลส่ง. (2552). วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. เพชรบูรณ์: ดีดีการพิมพ์.

อนุวัฒิ คูณแก้ว. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

อนุวัฒิ คูณแก้ว (2560). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

คงพรม ภ. ., & กุศลส่ง ส. . (2022). การจัดกิจกรรมการเล่นเสรีในมุมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 31–49. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/244