การจัดการอาชีวศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศเยอรมนี: การศึกษาเปรียบเทียบ
คำสำคัญ:
การจัดการอาชีวศึกษา, การศึกษาเปรียบเทียบ, การวิจัยเชิงคุณภาพ, ระบบทวิภาคีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการอาชีวศึกษาของประเทศไทยกับประเทศเยอรมนีในด้านนโยบายและจุดมุ่งหมาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรและการจัดเรียนการสอนและด้านสภาพการณ์ปัจจุบันโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ จำนวน 20 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า ด้านนโยบายและจุดมุ่งหมาย ทั้งสองประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ทักษะและความสามารถเชิงวิชาชีพและการประกอบอาชีพ การผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และความต้องการของการตลาดแรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้านการบริหารและการจัดการ รัฐบาลกลางของทั้งสองประเทศจะเป็นผู้กำหนดนโยบายหลัก แต่ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการบริหารจัดการด้านอาชีวศึกษาแบบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งประเทศเยอรมนีมีการบริหารจัดการด้านอาชีวศึกษาแบบกระจายอำนาจไปยังมลรัฐต่าง ๆ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ทั้งสองประเทศมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้แบบระบบทวิภาคีที่เรียกว่า Dual System มีการเรียนทั้งเนื้อหาทางด้านทฤษฎีและมีการฝึกงานในสถานประกอบการซึ่งเรียกว่า Apprenticeship ส่วนด้านสภาพการณ์ปัจจุบันทั้งสองประเทศ มีการกระจายหน่วยงานรับผิดชอบมากขึ้นเน้นการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรวมทั้งการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะทางด้านสังคม
References
กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2559). เส้นทางการศึกษาสู่อาชีพ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. (ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2561). การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สมบูรณ์. (2562). วาทกรรมการศึกษาไทย รวมข้อคิดและข้อวิจารณ์การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สมบูรณ์.(2534). อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อโครงการศึกษาไทย (พ.ศ. 2441-2460). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ. (2541). รายงานวิจัยเอกสาร การปฏิรูปอาชีวศึกษาของต่างประเทศ: สาธารณรัฐสิงคโปร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจข้อมูลเยอรมนี. (2557). สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน. [Online] Available: http://www.thaibizgermany.com/de/vocational/. [ตุลาคม 2562, 15]
วรรณดี สุทธินรากร และภูวเรศ อับดุลสตา. (2561). การพัฒนาอาชีวศึกษาให้เป็นคำตอบของการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
Cedefop. (2011). The Benefits of Vocational Education and Training. Research Paper No.10. Luxemburg: Publication Office of the European Union
Watt, A.G. (1988). Careers Guidance: An International Perspective. [Online]. Available: http://sedici.unlp.edu.ar/bitstream/handle/10915/13882/Documento_completo.pdf?sequence=1. [December 2019, 20].
Mayring. P. (2001). Qualitative content analysis. Forum Qualitative Social Research, 1 (2): [Online]. Available: http://qualitative-research.net/fqs/fqs-e/2-00inhalt-e.htm. [September 2019, 10].
Williamson, T., & Long A. F. (2005). Qualitative Data Analysis Using Data Display. Nurse Researcher 12 (3): 7-19.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.