องค์ประกอบของความเครียดทางเทคโนโลยีและกลไกยับยั้งความเครียดทางเทคโนโลยีต่อการปฏิบัติงานที่บ้าน: บริบทอุตสาหกรรมธนาคาร

ผู้แต่ง

  • ณัชพล ตัณฑ์เอกคุณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ คงมาลัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานที่บ้าน, ความเครียดทางเทคโนโลยี, กลไกยับยั้งความเครียดทางเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความเครียดทางเทคโนโลยีและกลไกยับยั้งความเครียดทางเทคโนโลยีต่อการปฏิบัติงานที่บ้าน บริบทอุตสาหกรรมธนาคาร รวมไปถึงเพื่อเสนอแนะแนวทางเพื่อบรรเทาความเครียดจากเทคโนโลยีให ้กับบุคลากร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ซึ่งถูกทดสอบความถูกต้องของเนื้อหา ได้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.500–1.000 และทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.827 และได้เก็บแบบสอบถามทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ที่เคยปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งประชากรออกเป็น 5 กลุ่มพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และสุ่มจำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มประชากร ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์กลับมาจํานวน 445 ชุด และนําข้อมูลมาวิเคราะห์ทั้งเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน ซึ่งการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจสามารถสรุป องค์ประกอบของปัจจัยด้านความเครียดทางเทคโนโลยี ประกอบด้วยความซับซ้อนของเทคโนโลยี การทํางานมากขึ้นจากเทคโนโลยี การถูกบุกรุกจากเทคโนโลยี และความไม่ปลอดภัยจากเทคโนโลยี ส่วนองค์ประกอบของปัจจัยกลไกยับยั้งความเครียดทางเทคโนโลยี ประกอบด้วยการสนับสนุนในการให้ความรู้ และการสนับสนุนทางเทคนิค โดยผลการวิจัยสามารถเสนอแนวทางเพื่อบรรเทาความเครียดจากการใช้เทคโนโลยีสำหรับบุคลากร สำหรับองค์กรในการนำเทคโนโลยีหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานควรมีการให้ระยะเวลาพนักงานในการเรียนรู้ ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และจัดเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ สำหรับพนักงาน เพื่อบรรเทาความเครียดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ และช่วยลดผลกระทบต่อพนักงานหากต้องการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในองค์กรในอนาคต

References

ชาลิณี ฐิติพณิชย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทํางานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวีณา เปล่งเสียง. (2558). ตัวเสริมและยับยั้งสมรรถนะการทํางานของผู้ใช้งานระบบ ERP (Enterprise Resource Planning).วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). เทคนิควิจัย ด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Abu Zafar Ahmed Mukul, Shah Johir Rayhan, Fazlul Hoque, Faijul Islam. (2013). Job Characteristics Model of Hackman and Oldham in Garment Sector in Bangladesh: A Case Study in Savar Area in Dhaka District. International Journal of Economics, Finance and Management Sciences. 1 (4), 188-195.

Andrea Ollo-Lopez, Salome Goni-Legaz. (2020). Home-based Telework: Usefulness and Facilitators. International Journal of Manpower. 42 (4), 644-660.

Arash Asiaei, Nor Zairah Ab. Rahim. (2018): A Multifaceted Framework for Adoption of Cloud Computing in Malaysian SMEs. Journal of Science and Technology Policy Management. 10 (3), 708-750.

Ayoung Suh. (2015). Understanding Teleworkers’ Technostress and Its Influence on Job Satisfaction. Internet Research. 27 (1), 140-159.

Jon Pauline Ramos. (2020). The Impact of Work-Home Arrangement on the Productivity of Employees During COVID-19 Pandemic in the Philippines: A Structural Equation Modelling Approach. International Conference on Industrial and Business Engineering, (2020), pp. 135-140.

Kira Rupietta & Michael Beckmann. (2016). Working from home: What is the effect on employees' effort?., WWZ Working Paper, No. 2016/07, University of Basel, Center of Business and Economics (WWZ), Basel. [Online]. Available: http://dx.doi.org/10.5451/unibas-ep61317

Monica Molino, Emanuela Ingusci, Fulvio Signore, Amelia Manuti. (2020). Wellbeing Costs of Technology Use During Covid-19 Remote Working: An Investigation Using the Italian Translation of the Technostress Creators Scale. Sustainability 2020, 12, 5911. [Online]. Available:https://doi:10.3390/su12155911. [2020, July 20].

Pornrat Sadangharn. (2020). Work from Home Adaptation of Employees in the Eastern Economic Corridor During the Covid-19 Crisis. Burapha Journal of Business Management, Burapha University. 9 (2), 14-33.

Qin Shu, Qiang Tu & Kanliang Wang. (2011). The Impact of Computer Self-Efficacy and Technology Dependence on Computer-Related Technostress: A Social Cognitive Theory Perspective. International Journal of Human-Computer Interaction. 27 (10), 923-939.

Suphischa Limtrakoolthai, Viroj Jadesadalog. (2018). The Influences of Job Characteristics to Organizational Affective Commitment Through Performance: The Mediator Role of Perceived Supervisor Support and Perceived Organization Support of Private School. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11 (2), 2920-2935.

T. S. Ragu-Nathan, Monideepa Tarafdar, Bhanu S. Ragu-Nathan. (2008). The Consequences of Technostress for End Users in Organizations: Conceptual Development and Empirical Validation. Information Systems Research. 19 (4), 417–433.

Valerie J. Morganson, Debra A. Major and Kurt L. Oborn. (2008). Comparing Telework Locations and Traditional Work Arrangements Differences in Work-life Balance Support, Job Satisfaction, and Inclusion. Journal of Managerial Psychology. 25 (6), 578-595.

Vivek Tiwari. (2021). Countering Effects of Technostress on Productivity: Moderating Role of Proactive Personality. Benchmarking: An International Journal. 28 (2), 636-651.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

ตัณฑ์เอกคุณ ณ. ., & คงมาลัย อ. . (2022). องค์ประกอบของความเครียดทางเทคโนโลยีและกลไกยับยั้งความเครียดทางเทคโนโลยีต่อการปฏิบัติงานที่บ้าน: บริบทอุตสาหกรรมธนาคาร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 179–194. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/235