ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ปริญญา เงินมูล คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความจงรักภักดี, สินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย, พฤติกรรมผู้บริโภค, ส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลระหว่างพฤติกรรมผู้บริโภคกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยและ 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-Square และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการคํานวณหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจากกลุ่ม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้มีการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากไม่ทราบจํานวนประชากรที่แน่นอนโดยใช้สูตร W.G. Cochran (1953) มีค่าความคาดเคลื่อน 0.05 ได้แก่ ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง จํานวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วย ผึ้งน้อยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านบุคคล และด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดี ตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภคใน เขตจังหวัดภาคกลางตอนล่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

มนัสมนต์ กล่ําแดง. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคกร้านอาหารชาบูบุฟเฟต์ในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึึกษา ร้านชาบูบุฟเฟต์ 2 ร้าน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 9 (2), 194-204.

สมฤทัย หาญบุญเศรษฐ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการระบบลิฟต์จอดรถยนต์อัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุกัญญา ทิพย์ไสยาสน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า Apple ของผู้ใช้โทรศัพท์ iPhone ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ ศึิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

หัทญา คงปรีพันธุ์. (2557). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าเปรียบเทียบระหว่างธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) กับธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อมร ชคทิศ. (2556). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อรถบรรทุกในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Kotler, P. (1999). Marketing Management: An Asian Perspective. (2nd ed.).New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning Implementation and Control. (9th ed.). New Jersey: Asimmon & Schuster.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

เงินมูล ป. . (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 159–178. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/234