ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม บริบท การประปานครหลวง
คำสำคัญ:
องค์กรนวัตกรรม, กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม, นวัตกรรมขององค์กร, ประสิทธิภาพขององค์กรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม และระดับความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของการประปานครหลวง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการศึกษารวบรวมปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนําปัจจัยที่ได้รับจากการสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญมาทำแบบสอบถาม โดยทำการทดสอบความถูกต้องของเนื้อหา ได้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคําถามทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.500–1.000 และทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.982 และได้เก็บแบบสอบถามทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของการประปานครหลวง ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยแบ่งประชากรออกเป็นสายงาน และสุ่มจำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มประชากร ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ ์กลับมาจำนวน 376 ชุด และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทั้งเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน เพื่อใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจําลองสมการโครงสร้าง (SEM) ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Process) ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิภาพขององค์กร (Organizational Performance) ร้อยละ 62.60 (R2 = 0.626) และส่งผลทางตรงต่อนวัตกรรมขององค์กร (Organizational Innovativeness) ร้อยละ 53.40 (R2 = 0.534) นอกจากนี้ ปัจจัยด้านคุณลักษณะขององค์กร (Organizational Characteristics) ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพขององค์กรและนวัตกรรมขององค์กรผ่านกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Process) ร้อยละ 73.80 (R2 = 0.738) และผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาทำการอภิปรายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับผลการวิจัย และได้นําเสนอแนวทางที่จะใช้ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กร โดยการใช้ข้อมูลจากการวิจัยมาประกอบ เพื่อพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมต่อไป
References
กนกวรรณ ภู่ใหม. (2559). การศึกษาปัจจัยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมองค์กร บริบท ธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2557). องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization). [Online]. Available: https://www.gotoknow.org/posts/538400. [2564, มกราคม 9].
จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2555). อย่างไหนคือประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล. [Online]. Available: https://www.gotoknow.org/posts/74696. [2563, ธันวาคม 20].
ชลธิชา ทิพย์ประทุม, จิราวรรณ คงคล้าย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2560). บทบาทของรางวัล ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11 (1), 190-201.
ธารพรรษ สัตยารักษ์. (2557) บทบาทของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสูงสุดและปัจจัยภายในองค์กรต่อผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตเอกปรัชญา (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิตด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นุสติ คณีกุล. (2560). นวัตกรรมกับองค์กร. [Online]. Available: https://tma.or.th/2016/news_detail.php? id=182. [2564, มกราคม 17].
นิศาชล ฉัตรทอง. (2561). บริบทภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบา เกรย์. (2563). อนาคตทรัพยากรน้ำภาคเกษตรของประเทศไทย. [Online]. Available: https://research cafe.org/future-of-the-supply-and-uses-water-in-thais-argriculture/. [2564, มกราคม 17].
ปิยะ ตันติเวชยานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม กรณีศึึกษา: บริษัท ซุปเปอร์ริช อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็กซ์เชนจ์ 1965 จํากัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 9 (2), 102-111. [Online]. Available:http://61.19.238.50/journal/data/9-2/9-2-12.pdf. [2564, มกราคม 17].
พัชรวรรณ สุทธิรักษ์. (2562). วัฒนธรรมนวัตกรรม. [Online]. Available: https://www.ftpi.or.th/2019/31401. [2564, มกราคม 10].
ภูกฤษ สถานสุข. (2562). การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในกิจการผลิตไฟฟ้าของรัฐ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มทนา วิบูลยเสข. (2561). ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Industry 4.0 VS Thailand 4.0.[Online]. Available: https://www.aware.co.th/thailand4-0/. [2563, ธันวาคม 20].
มรกต จันทร์กระพ้อ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศขององค์การ. วารสารนักบริหาร. 39 (1), 52-66.
มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์กร. วารสารศิลปการจัดการ. 4 (1) 193-204.
วรรณกร รอบคอบ. (2563). วัฒนธรรมองค์กร. [Online]. Available: https://sites.google.com/site/ darunsitpattanarangsan/sara-na-ru/wathnthrrm-xngkhkr. [2564, มกราคม 10].
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสําคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 33 (128), 49-65.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. [Online]. Available: https:// nia.or.th/สื่อ-อินโฟกราฟฟิก.html. [2563, ธันวาคม 20].
สุรัตน์ ไชยชมภู. (2556). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์กร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.7 (1), 1-14.
อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). เทคนิควิจัย ด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2560). องค์การนวัตกรรม: มโนทัศน์ และตัวแบบเชิงทฤษฎี. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 57 (3), 158-187. [Online]. Available: http://journal.nida.ac.th/test/wp-content/ uploads/ 2018/ 01/158_187.pdf. [2563, ธันวาคม 20].
Ahmad Fathi Al-Sa’di, Ayman Bahjat Abdallah, Samer Eid Dahiyat. (2017). The Mediating role of Product and Process Innovations on the Relationship Between Knowledge Man-agement and Operational Performance in Manufacturing Companies in Jordan. Business Process Management Journal. 23 (2), 349-376.
Curtis A. Conley, Wei Zheng. (2009). Factors Critical to Knowledge Management Success. Advances in Developing Human Resources. 11 (3), 334-348.
Giancarlo Gomes, Rafaele Matte Wojahn. (2017). Organizational Learning capability, Innovation, and Performance: Study in Small and Medium-sized Enterprises (SMES), Technology Management. Re Vista De Administração. 52, 163–175.
Lindeman RH, Merenda PF, Gold RZ. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott, Foresman: Glenview, IL.
Lunneborg, C. E. (1979). Book Review: Psychometric Theory: Second Edition Jum C. Nunnally. New York: Mc Graw-Hill, 1978, 701 pages. Applied Psychological Measurement. 3 (2), 279-280.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.