การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร: กรณีศึกษา บริษัท ABC (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้แต่ง

  • ภาวิดา สีอ่อน คณะวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตพงษ์ อัยสำนนท์ คณะวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพยากรณ์ความต้องการสินค้า, การวางแผนในการดำเนินการ, การควบคุม, การจัดการข้อมูล, การจัดเก็บข้อมูล, การกระจายสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออการพยากรณ์ความต้องการสินค้า 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพยากรณ์ความต้องการสินค้าที่มีประสิทธิภาพต่อการดําเนินงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัท ABC (ประเทศไทย) จํากัด จํานวน 380 ตัวอย่าง โดยการคํานวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ และทําการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่คํานึงถึงความน่าจะเป็น ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการอธิบายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ ข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของโรงงาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยการบริหาร จัดการโลจิสติกส์ โดยรวมอยู่ ในระดับมาก ( x̄ = 3.96, S.D.= 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ การควบคุม (x̄ = 4.04, S.D.= 0.66) และการจัดเก็บข้อมูลมีค่าเฉลี่ยมากที่ส ุด ( x̄ = 4.07, S.D.= 0.71) รองลงมา คือ การจัดการข้อมูล ( x̄ = 3.96, S.D.= 0.68) การวางแผนในการดําเนินการ ( x̄ = 3.94, S.D.= 0.62) และการจัดการกระจายสินค้า ( x̄ = 3.80, S.D.= 0.88) ตามลําดับ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของโรงงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเวลา และด้านต้นทุน อยู่ในระดับมากทุกด้านตามลําดับ และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการโลจิสติกส ์ด้านการวางแผนในการดําเนินการ ด้านการควบคุม และด้านการจัดการข้อมูล มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ด้านต้นทุน และปัจจัยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ด้านการวางแผนในการดําเนินการ ด้านการจัดการข้อมูล และด้านการกระจายสินค้า มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร (กรณีศึกษา บริษัท ABC (ประเทศไทย) จำกัด

References

กนกกาญจน์ มูลผาลา. (2556). การศึกษาเทคนิคการพยากรณ์ยอดขายสินค้าอุปโภคที่เหมาะสมของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.(สสอท) ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2557

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน กลยุทธ์ทำให้รวยช่วยให้ประหยัด. กรุงเทพมหานคร: โรงงานนัฎพร.

นิพนธ์ โตอินทร์. (2556). การพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนสินค้าคงคลัง สำหรับสินค้าเครื่องดื่ม กรณีศึกษา : แผนกควบคุมเครื่องดื่มในโรงงาน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลักขณา ฤกษ์เกษม, (2556). การพยากรณ์ความต้องการสินค้า สำหรับการวางแผนการผลิต : กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด. บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วาสนา เจริญศรี. (2558). การปรับปรุงการวางแผนการสั่งซื้อในปริมาณที่เหมาะสมและการจัดการวัตถุดิบคงคลังในโซ่อุปทาน กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิยาลัยบูรพา.

สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, (2559). ประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์เชิงปริมาณและการจัดการการดำเนินงาน. หน่วยที่ 7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2556). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เกณฑ์ตัวชี้วัดมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบการ. โครงการศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ ปี พ.ศ. 2556.

อมรรัตน์ วัดเล็ก. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการผลิต. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิยาลัยบูรพา.

Petchuay, P., Sophonpongpipat, N., and Leelaweephong, W. (2012). On the Optimum Analysis of Jewelry Production Planning. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Donald L. Deckard, et al. (2003). Benchmark roundwood delivery cycle-times and potential efficiency gains in the southern United States. For. Prod. J. 53. (7/8) 61-69.

Forslund and Jonsson. (2007). Dyadic integration of the performance management process: A delivery service case study. International Journal of Physical Distribution and Logistics Management. 37 (7), 546-567.

Gunasekaran, A., Patel, C., and Tirtiroglu, E. (2004). Performance measures and metrics in a supply chain environment. International Journal of Operation and Production Management. 21 (1/2), 71-87.

Towill, Denis R., Mason-Jones, Rachel. (1999). Total Cycle Time Compression and the Agile Supply Chain. Int. J. Production Economics. 62 61, 73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

สีอ่อน ภ. ., & อัยสานนท์ ช. . (2022). การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร: กรณีศึกษา บริษัท ABC (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 125–139. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/232