การตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตที่ตกค้างในผักที่ใช้ประกอบอาหารของฝ่ายโภชนาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ผู้แต่ง

  • ร้อยตำรวจเอกหญิง อารยา ฤทธิรงค์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ออร์กาโนฟอสเฟต, คาร์บาเมต, ฝ่ายโภชนาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบระดับความปลอดภัยของผักที่นำมาประกอบอาหาร ด้วยชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค และนำข้อมูลมาวางนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบควบคุมตรวจสอบการจัดหาวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ไม่มีสารพิษที่ตกค้างและปนเปื้อนของฝ่ายโภชนาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จากตัวอย่างผักที่ยังไม่ผ่านการล้างทำความสะอาด จำนวน 20 ชนิด ทดสอบด้วยชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค พบว่า พบผักอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย จำนวน 15 ชนิด (75.00%) อยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย จำนวน 3 ชนิด (15.00%) และอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยมาก จำนวน 2 ชนิด (10.00%) การทดสอบดังกล่าวเป็นวิธีการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์โดยอาจก่อให้เกิดผลบวกลวงได้ ดังนั้น จึงควรมีการตรวจยืนยันผลด้วยเครื่องมือวิเคราะห์อีกครั้ง และจากการศึกษาสามารถนำข้อมูลมาวางนโยบายเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดแมลงปนเปื้อน ดังนี้ 1) ควรบูรณาการการทำงานร่วมกันภายในหน่วยงาน โดยให้นักวิทยาศาสตร์ ประจำคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นผู้ร่วมตรวจวิเคราะห์ 2) การจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อวัตถุดิบ รวมถึงค่าบริการตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลงปนเปื้อน 3) ควรเลือกวิธีการทำความสะอาดผักอย่างถูกวิธี และ 4) การจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบความปลอดภัยของผักและผลไม้จากแหล่งจัดส่งในแต่ละเดือน เพื่อวางมาตรการป้องกันและดูแลนักเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อไป

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). การศึกษาพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีในการเกษตรด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ความรู้สิ่งเป็นพิษตอนที่ 1 และ 2 สารเคมีกำจัดหนู. [Online]. Available: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001 c.asp? info_id=81.[2563, ตุลาคม 15].

จิราพร ใจเกลี้ยง, ศิริพร จันทร์มณี และอรพรรณ หนูแก้ว. (2555). การตรวจหายาฆ่าแมลงตกค้างในผักจากตลาดในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จํารัส เลิศศรี, วัฒนศักดิ์ จําละคร และ ศิริขวัญ แสงมณี. (2557). การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยการได้รับพิษของสารกําาจัดแมลงกลุ่มคาร์บาเมตและออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างปศุสัตว์โดยใช้พีเอชมิเตอร์. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, 9 (2), 73-86.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). มันมากับอาหาร: ยาฆ่าแมลงตกค้างในผักสด. [Online]. Available: https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1749128. [2563, ตุลาคม 25].

นิรมล ธรรมวิริยะสติ และสานิตา สิงห์สนั่น. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอร์เรสในเลือดและพิษของยาฆ่าแมลงที่ส่งผลต่อสุขภาพในกลุ่มประชากร ผู้ได้รับสารพิษตกค้างในผัก. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสหเวชศาสตร์.

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน, และศรมน สุทิน. (2559). การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 5 (1), 22-30.

วิวัฒน์ ชินวร. (2547). การวิเคราะห์เขม่าปืนด้วยเทคนิค SEM/EDX. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา เพชรศิริเวทย์ และอนันต์ อภิวันท์ตระกูล. (2560). สารกําาจัดศัตรูพืชตกค้างกับเทคนิคการสั่นของคลื่นพื้นผิวพลาสมอน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 3 (1), 76-85.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. (2558). ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกําาจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9 (1), 50-63.

สุภาวรรณ เศรษฐบรรจง. (2552). พิษวิทยากับการชันสูตรพลิกศพ. เวชบันทึกศิริราช, 2 (2), 84-91.

สํานักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2562). เปิดข้อมูลผู้ป่วยบัตรทอง ปี 62 พบผู้ป่วยพิษสารเคมีปราบศัตรูพืชกว่า 3 พันราย เสียชีวิต 407 ราย. [Online]. Available: https://www.hfocus.org/content/2019/08/17468. [2563, พฤศจิกายน 20].

สํานักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2556). ชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค ตรวจหายาฆ่าแมลงในผักผลไม้. [Online]. Available: http://www.dmsc.moph.go.th/bkm/product_detail.php? id =20. [2563, พฤศจิกายน 15].

อรอุมา สร้อยจิต และสุวิทย์ คล่องทะเล. (2562). ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. 26 เมษายน 2562. มหาวิทยาลัยรังสิต. 138-149.

อุทัยทิพย์ สังกลม, ปัทธมาภรณ์ ขุนทรง, กฤษณา พิรุณโปรย และปัญจ์ปพัขรภร บุญพร้อม. (2555). การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. ธันวาคม 2555. นครปฐม. 1333-1341.

Gebara, A.B., Ciscato, C.H.P., Ferreira, M.d.S., & Monteiro, S.H. (2005). Pesticide Residues in Vegetables and Fruits Monitored in Sa ̃o Paulo City, Brazil, 1994–2001. The Bulletin of Environmental Contamination and Toxicology, 75: 163-169.

Gupta, R.C. & Milatovic, D. (2012). Organophosphates and Carbamates. In: Veterinary Toxicolgy Basic and Principle. 2nd ed.

Parveen, Z., Khuhro, M. I., & Rafiq, N. (2005). Monitoring of Pesticide Residues in Vegetables (2000–2003) in Karachi, Pakistan. The Bulletin of Environmental Contamination and Toxicology, 74: 170-176.

Sabino, B.D., Rozenbaum, H., & Oliveira, A.S. (2011). A Forensic View of Pesticide Poisonings in Brazil. In Pesticides in the Modern World - Effects of Pesticides Exposure.(pp. 251-278). intechopen: Autonomous University of Baja California, Mexico.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

ฤทธิรงค์ อ. ., & สินลอยมา พ. . (2022). การตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตที่ตกค้างในผักที่ใช้ประกอบอาหารของฝ่ายโภชนาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 87–103. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/228