แนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันในสถานที่เกิดเหตุคดีจราจร ระหว่างพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่กู้ภัย ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • รภิญา ดิษฐเอม คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำารวจ

คำสำคัญ:

พนักงานสอบสวน, เจ้าหน้าที่กู้ภัย, การตรวจสถานที่เกิดเหตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานร่วมกันในสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่กู้ภัย เมื่อเกิดเหตุคดีจราจร ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ พนักงานสอบสวน จำนวน 5 ราย และเจ้าหน้าที่กู้ภัย มูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร จำนวน 5 ราย ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Snowball Sampling รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และหาคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชียวชาญ จากนั้นวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องผลการวิจัยพบว่า 1) การทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่กู้ภัย ในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันการเกิดเหตุ โดยเน้นไปที่การจดบันทึกการเกิดเหตุ เช่น สถิติการเกิดเหตุ พื้นที่เสี่ยง รูปแบบและวิธีการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ในแต่ละครั้งห้ามมีการตัดสินใจเพียงลำพัง จะต้องมีแพทย์ พนักงานสอบสวน หรือกู้ภัยที่มีประสบการณ์และมีทักษะระดับเชี่ยวชาญอยู่ในที่เกิดเหตุทุกครั้ง เพื่อป้องกันความไม่ประมาทและกันการผิดพลาด และพนักงานสอบสวนนั้นมีความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุในคดีเหตุจราจรตามอำนาจของกฎีหมาย พร้อมทั้งประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักนิติวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ชันสูตร กู้ภัยหรือมูลนิธิฯ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานในสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่กู้ภัยคดีจราจรจังหวัดสมุทรสาคร พบปัญหา 2 ด้าน คือ ปัญหาด้านการรักษาสถานที่เกิดเหตุ เนื่องจากพนักงานสอบสวนหรือมีน้อยและปัญหาด้านการประสานงานในการดำเนินกิจกรรมหรือการขนส่งผู้บาดเจ็บ เป็นต้น

References

กนกวรรณ นิ่มทัศนศิริ. (2557). การให้ความหมาย ที่มาของความหมายและแนวทางในการเป็นอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7 (1), 181-190.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์. (2537). ความรู้เบื้องต้นการสืบสวนอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามการพิมพ์.

ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2530). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ภาชินี เดชรัตนสุวรรณ์ และวรธัช วิชชุวาณิชย์. (2561). การศึกษาความเข้าใจในด้านการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจสถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตําารวจ.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2542). สู่วัยสูงอายุด้วยคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2563). รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน. [Online]. Available: https:// ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/. [2564, มกราคม 9].

สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร. (2553). ทศวรรษความปลอดภัยทางถนน. [Online]. Available: http://www.addkusa.com/index.php/news/47-.html. [2564, มกราคม 9].

สมภพ เองสมบุญ. (2551). การตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น. นครปฐม: โรงเรียนนายร้อยตํารวจ.

สุรัสวดี หุ่นพยนต์ และภูมิธรรม เวชยชัย. (2527). ปัญหาการดำเนินงานของหน่วยอาสาสมัครในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักบัณฑิตอาสาสมัคร.

Cohen, M, and Uphoff, T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Cornell University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

ดิษฐเอม ร. . (2022). แนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันในสถานที่เกิดเหตุคดีจราจร ระหว่างพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่กู้ภัย ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร . วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 71–85. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/227