รูปแบบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางอารมณ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และพัฒนารูปแบบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 450 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิเคราะห์ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (X= 4.00, S.D. = 0.46) และผลการพัฒนารูปแบบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน พบว่า 1) การอบรมเลี้ยงดู มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อบุคลิกภาพ การใช้อำนาจ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร 2) บุคลิกภาพ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการใช้อำนาจ และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร 3) การใช้อำนาจ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร 4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการใช้อำนาจ และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร
References
กรมสุขภาพจิต. (2550). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: สําานักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2546). สุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2545-2546. กรุงเทพฯ: สําานักพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กัลยมน อินทุสุต และศิริชัย ชินะตังกูร. (2554). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2 (1), หน้า 25-42.
จุมพจน์ เชื้อสาย. (2553). People for Quality: EQ กับภาวะผู้นําาส่งผลให้คนประสบความสําาเร็จได้อย่างไร. วารสารฟอร์ ควอลิตี้ (For QUALITY), 16 (150), 107-111.
ชาคริต มานพ. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนเตรียมทหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญารัตน์ ทับทิม. (2557). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการ คณะครุศาสตร์ ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
มณีรัตน์ ยศสุรีย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับกลยุทธ์ การเมืองในองค์การ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มัณฑิรา เกิดพิพัฒน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพที่มีต่อพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์ของพนักงานสายงานตลาด และการขาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน).วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วรพจน์ บดสันเทียะ. (2551). การศึกษาปัจจัยการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อบรรยากาศในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วราภรณ์ พรหมรัตน์. (2554). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต, (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bar-On, R. (1997). Bar-On Emotional Quotient Inventory: Technical Manual. Toronto: Multi Health Systems.
Bar-On, R. (1997). Bar-On Emotional Intelligence Quotient Inventory: EQ-I Test Booklets.Toronto: Multi-Health System.
Costa, P.T. and McCrae, R.R. (1995). Revised NEO Personality Inventory (NEO-PI-R) and NEO Five-Factor Inventory (NEO-FFI). Florida: Psychological Assessment Resources.
Curry, C. C. (2009). Correlation of Emotional Intelligence of School Leaders to Perceptions of School Climate as Perceived by Teachers, Indiana University of Pennsylvania.
French, J. R. P. & Raven, B. H. (1968). The Bases of Power. In D. Cartwringht, & Arbor (Eds.), Studies Power. New York: McGraw-Hill.
Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence: Why it Can Matter More Than IQ. New York : Bantam Books.
Goleman, D. (1998). Working With Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.
Hair, Jr. Joseph F, Black, William C., Babin, Barry J., Anderson, Rolph E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th edition. Pearson Education Inc. NewJersey.
Hjelle, L.A. and Ziegler, D.J. (1992). Personality Theories. Singapore: McGraw-Hill.
Roger, Evertt M. (1972). Social Change in Rural Societics. Second Edition. New York: Appleton-Cntury-Crofts.
Spence, J.T., and Helmreich, R.L. (1983). Achievement Related Motives and Behavior. San Francisco: W.H. Freeman.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.