การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ไรวินท์ พลเพชร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบ, การบริหารแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบ มีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี และคณะกรรมการสถานศึกษา กศน. อำเภอยะรัง ครูและบุคลากร กศน.อำเภอยะรัง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวมทั้งหมด 80 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 4) แบบสอบถามผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X̅= 4.22, S.D. = .13) 2) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีความเหมาะสม และมีผลการประเมินเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำไปใช้โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.54, S.D. = .35) 3) ครูและบุคลากร กศน. อำเภอยะรังมีความพึงพอใจต่อการการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.62, S.D. = .46) และสถานศึกษามีผลงานเชิงประจักษ์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานศึกษา ด้านนวัตกรรม และด้านพัฒนาชุมชน

References

เกสิณี ชิวปรีชา. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสําหรับโรงเรียนดีประจําาตำบล. วารสารครุศาสตร์, 40(3), 147-159.

จิรวัฒน์ ชินศรี (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในวิทยาลัยสารพัดช่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 243-254.

ชวิน พงษ์ผจญ. (2561). สภาพปัญหาในการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างสันติสุขของโรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), 116-157.

ทศพล ธีฆะพร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 329-342.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทวพร ขําเมธา. (2558) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 176-187.

ปิยนาถ ประยูร. (2548). วิธีคิดกระบวนระบบ systems thinking. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัยสําานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

Anderson, Virginia, & Johnson Lauren. (1997). Systems Thinking Basics: From Concepts to Causal Loop. Waltham: Pegasus Communiction.

George, A. Steiner (1969), 'A Conceptual and Operational Model of Corporate Planning' in Top Management Planning. Toronto: Collier-Macmillan, 31-61

Keeves, John P. (1988). Educational Research, Methodology, and Measurement: An International Handbook. Oxford, England: Pergamon Press plc.

Lunenberg and Ornstein. (1996). Sociology and Modern System Theory. Englewood. Cliffs, NJ Prentice Hall.

McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. New York: the Free Press.

Pegasus, Communications. (2000) . What is System Thinking?. (Online). Available: http://www.papert.org/articles/situating constructionism.html.

Swansburg, R. (1996). Management and Leadership for Nurse Management. Boston: Jones and Bartlett.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

พลเพชร ไ. . (2022). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 19–35. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/221