การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนของครู โรงเรียนในคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียน, ความยึดมั่นผูกพันที่มีต่อโรงเรียน, โรงเรียนคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความจงรักภักดี และพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนของครูโรงเรียนคณะภคินีเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 548 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่า 0.60-1.00 และค่าความเที่ยงตรงมีค่า 0.76-0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม Adanco 2.01 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้: 1. ผลการวิเคราะห์ระดับความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนของครู พบว่า ครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านจิตใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรม ด้านความคงอยู่ และด้านบรรทัดฐาน 2. ผลวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของตัวแปรในโมเดลสมการเชิงโครงสร้างความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนของครู พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.618 - 0.938 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ของโมเดล พบว่า ความยึดมั่นผูกพันที่มีต่อโรงเรียนเท่ากับ 0.346 และความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนมีค่าเท่ากับ 0.517 อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมส่งผลถึงความจงรักภักดีที่มีต่อโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3. ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างความจงรักภักดี พบว่า โมเดลวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้น้ำาหนักของตัวแปรสังเกตได้ มีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของตัวแปรสังเกตได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.593 - 0.945
References
กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากร ภายในวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ชูศักดิ์ เจนประโคน. (2549). การบํารุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้เกดประสิทธิ์ภาพสูงสุดในองค์การ. วารสารรามคําแหง, 23 (1): 163-171.
ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฎีองค์กรและพฤติกรรม: หลักการ ทฤษฎีการวิจัย และการปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ เนติกุลการพิมพ์.
เบญจรัตน์ เดชานุวัฒนชัย. (2541). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กร และการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิง.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชัย ชวลิตธาดา. (2550). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร.
ยุวดี พันธ์สุจริต. (2554). การวิเคราะห์โมเดลทางเลือกของความผูกพันกับโรงเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีรัตน์ หมั่นหาทรัพย์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการออกนอกระบบ และความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรพินทร์ ชูชม. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของความยึดมั่นผูกพันในงานของครู. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Allen, N. & Meyer, J. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance, and Normative Commitment. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1–18.
Angle, H.L & Perry, J.L. (1981). An Empirical Assessment of Organizational Commitment and Organizational Effectiveness. Administrative Science Quarterly, 26 (4), 1-12.
Fredricks, J.A., Blumenfeld, P.C., & Paris, A.H. (2004). School Engagement: Potential of the Concept, State of the Evidence. Review of Educational Research, 74 (1), 59-109.
Hair, J., et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education International.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons, Inc.
Saks, A. M. (2006). Antecedents and Consequences of Employee Engagement. Journal of Managerial Psychology, 21 (7), 600-619.
Schaufeli, W., Salanova, M., Gonzales-Roma, V. and Bakker, A. B. (2002). The Measurement of Engagement and Burnout : a Two Sample Confirmatory Factor Analytic Approach. Journal of Happiness Studies, 3, 71-92.
Steers Richard, M. (1977). Antecedents and Outcome of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22, (1), 46-56.
Steers, R. M. (1997). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22 (1), 46–56.
Steers, R.M. and L.W. Porter. (1983). Motivation and Work Behavior. (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.