การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • วรัญญา กาพย์ตุ้ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม, ความสามารถในการอ่านภาษาไทย, ปัญหาการอ่าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1” ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านระหว่างก่อน และหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยดำเนินการศึกษาตามกระบวนการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง จำนวน 14 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย พบว่า มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.55-0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (T– test Dependent) ผลการวิจัย 1. กิจกรรม และแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพบทเรียน(gif.latex?E_{1}/gif.latex?E_{2}) เท่ากับ 74.72/77.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถ ในการอ่านภาษาไทยระหว่างก่อน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาไทย หลังเรียน (gif.latex?x\bar{}= 76.64, S.D. = 8.68 ) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?x\bar{}=61.71, S.D. =11.64 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 7.16 , sig= 0.000)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรลักษณ์ จิรวิบูลย์. (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่านตามแนวคิดพหุสัมผัสและแนวคิดสื่อกลางการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรงไชยศรี. (2561). การศึกษาปัญหาการเรียนอ่านเขียนของนักเรียนไทยและนักเรียนต่างด้าวและการแก้ปัญหาด้วยแบบเรียนที่พัฒนาตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ:กรุงเทพฯ.

วิไลวรรณ จันทร์น้ำใส. (2564). การพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีปัญหาทางการอ่าน. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2552). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แก้ง่ายนิดเดียว (ใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: นวสานต์การพิมพ์.

สุนทรี ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และแนวคิดพหุประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านระดับประถมศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, (7) ฉบับพิเศษ (เดือนตุลาคม 2560).

สุไปรมา ลีลามณี. (2553). ศึกษาความสามารถในการอ่านคำ และแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้านการอ่าน จากการสอนโดยผสมผสาน วิธีโฟนิกส์ (Phonics) กับวิธีพหุสัมผัส (Multi-Sensory Approach). ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Academy of Orton- Gillingham. (2001). What Is The Orton- Gillingham Approach? Retrieved from: [Online]. https://www.ortonacademy.org/resources/what-is-the-orton-gillingham-approach [2020, November 18].

Chappell, K. (2018). The Essential Needs For Orton-Gillingham Based Reading Instruction. Retrieved from: https://www.readinghorizons.com/.../essential-need-orton-gillingham.pdf. [2020, November 18].

Dyslexia Association of Singapore. (2015). DAS Handbook Of Early Intervention 2015. Retrieved from: https://www.das.org.sg/images/publications/das-handbook/.../DASHB2015EI-WEB.pdf[2020, November 18].

Gillingham, A. & Stillman, B.W. (1997). The Gillingham Manual: Remedial Training For Students With Reading, Specific Disability Spelling In And Penmanship. (8th ed.). Cambridge, MA: Educators Publishing Service.

Hughes, S. (2014). The Orton-Gillingham Language Approach-A Research Review. Retrieved from: www.nessy.com/us/files/.../Orton-Gillingham_Report-Final-Version.pdf

, November 18].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-15

How to Cite

กาพย์ตุ้ม ว. ., & ธำรงโสตถิสกุล ว. . (2023). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/20