ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
แนวคิดทฤษฎีของโคได, สื่อประสม , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล , นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๒ จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีโคไดร่วมกับสื่อประสมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีโคไดร่วมกับสื่อประสมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีโคไดร่วมกับสื่อประสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2562). การประเมินการปฏิบัติ: แนวคิดสู่การปฏิบัติ-Performance Assessment: Concept to Practice. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร หลักสูตประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). คู่มือกิจกรรมเสริมหลักสูตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ.
กัลยา ขาวผ่อง. (2555). เทคโนโลยีสื่อประสมสอนหลักการขับร้องเพลงไทยเดิม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศักดิ์ วรุณกูล. (2538). กิจกรรมร่วมหลักสูตร. เชียงใหม่: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2535). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตรีชฎา สนโต. (2561). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องการอ่านโน้ตสากลโดยใช้วิธีการสอนแบบโคดายกับวิธีการสอนแบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ราชภัฏอุตรดิตถ์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2544). โคไดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัย.
ปรียาภรณ์ วงศ์ออนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พฤทธิ์ มาเนตร. (2553). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกจกรรมการเรียนแบบจัดกรอบมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถทางการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา) คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัดชา บริบูรณางกูร. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีสากล เรื่อง สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตและการอ่านโน้ตของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบโคดาย. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์กรุงเทพ.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
ภูมิบดินทร์ บาไสย. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติฟ้อนนางแอกใค้ขอฝนโดยใช้แนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มารียา ปัณณะกิจการ. (2556). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับผู้เรียนเป็นโนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
ศุภสิริ โสมาเกตุ (2544). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนและความพึงพอใจในการเรียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนรู้โดยโครงงานกับการ เรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา:หลักการและแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สงขลา: ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.