องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงองค์กร

ผู้แต่ง

  • พิชญาสินี จิตติพิชญานันท์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารณี เอื้อชนะจิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, การบริหารความเสี่ยงองค์กร, COSO ERM 2017

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยได้ทำการทบทวนกรอบแนวคิดของ COSO 2017 : Enterprise Risk Management Framework (COSO ERM 2017) ตลอดจนงานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงองค์กร พบว่า ตามกรอบแนวคิดของ COSO ERM 2017 มี 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1. การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร องค์ประกอบที่ 2. กลยุทธ์และวัตถุประสงค์องค์กร องค์ประกอบที่ 3. เป้าหมายผลการดำเนินงาน องค์ประกอบที่ 4. การทบทวนและปรับปรุง และองค์ประกอบที่ 5 สารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงาน และภายใน 5 องค์ประกอบหลักแยกย่อยออกเป็น 20 องค์ประกอบย่อย สิ่งสำคัญตามกรอบแนวคิดของ COSO ERM 2017 มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นระบบในการบริหารความเสี่ยง และให้ครอบคลุมในทุกมิติของการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งเตรียมรับมือในสถานการณ์ที่เรียกว่า “VUCA World”(Volatility , Uncertainty , Complexity , Ambiguity) โดยแต่ละองค์กรสามารถนำกรอบแนวคิดข้างต้นไปประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบในการบริหารงานสำหรับเตรียมพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์ความเสี่ยงในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมหรือเหตุการณ์ความเสี่ยงใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับการบริหารจัดการขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป

References

กรมบัญชีกลาง. (2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร COSO Enterprise Risk Management 2017. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564 จาก https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/สพต-ระเบียบ.html.

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฆามน สิทธิผลวนิชกุล. (2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร COSO Enterprise Risk Management 2017. วารสารวิชาชีพบัญชี. 14 (42), 111-124. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564 จาก http://www.jap.tbs.tu.ac.th/files/Article/ Jap42/Full/JAP42Juthamon.pdf.

ธีระศักดิ์ ใจห้าว. (2562). ความมีประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ด้านการเงิน การบัญชี และงบประมาณ ของกองทัพอากาศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี. ปีที่ 1 (ฉบับที่ 1), 88-101.

บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ. (2561). TOP 5 วิกฤตเศรษฐกิจโลก. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/121102.

ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม. (2560). ระบบบริหารความเสี่ยงองค์กรในบริบทของเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ด้านผลการดำเนินงาน องค์กร การศึกษาเชิงประจักษ์กลุ่มบริษัทจดทะเบียนไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 26 (2), 89-117.

ประไพพิศ ลลิตาภรณ์ (2556). เอกสารบรรยายกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คณะกรรมการระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, พฤศจิกายน 2556 (หน้า 40-50). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยวดี โขวิฑูรกิจ. (2561). COSO ERM 2017 กรอบการบริหารความเสี่ยงใหม่ไฉไลกว่าเดิม, วารสารประกันภัย. 33 (138), 12-16.

มโนชัย สุดจิตร. (2560). การบูรณาการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การกับการจัดการคุณภาพรัฐ: กรณีศึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 15 (2), 116-135.

รัฐพงศ์ รัตนพันธ์ศรี และธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2562). ความสอดคล้องระหว่างการบริหารความเสี่ยงใน หน่วยงานภาครัฐกับการบริหารความเสี่ยงตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017: กรณีศึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง). วารสารสภาวิชาชีพบัญชี. 1 (3), 25-43.

รุ่งทิพย์ พงศ์กิจการเจริญ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร. 32 (2), 42-52.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555). วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 35 (135), 1-3. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565 จาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/ files/Jba135/Column/ JBA135SinlapapornC.pdf.

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). การบริหารความเสี่ยงขององค์กร การบูรณาการร่วมกับกลยุทธ์และผลการปฏิบัติงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัทแอคทีฟพริ้นท์.

สุรเดช จองวรรณศิริ. (2561). Organizational Excellence. TRIS Academy Club Issue4, สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564 จาก http://www2.trisacademy.com/articles-and-knowledge/coso-erm-coso-2017.

อังสนา ศรีประเสริฐ. (2553). การบริหารความเสี่ยงกับงานตรวจสอบภายใน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 30 (1), 153-154. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565 จาก http://utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/journal_book.php?journal_id=12.

The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission (COSO). (2017). Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance Executive. Retrieved December 4, 2021 from https://www.coso.org/Documents/2017-COSO-ERM-Integrating-with-Strategy-and-Performance-ExecutiveSummary.pdf.

Waseem-Ul-Hameed , Faiza Hashmi , Mohsin Ali and Muhammad Arif. (2017). Enterprise Risk Management (ERM) System: Implementa tion Problem and Role of Audit Effectiveness in Malaysian Firms. Asian Journal of Multidisciplinary Studies. 5 (11), P 34-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

จิตติพิชญานันท์ พ. ., & เอื้อชนะจิต ด. (2023). องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงองค์กร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 175–192. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/105