อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, นวัตกรรมการให้บริการ, นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของคุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการให้บริการ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล (3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ และ (4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายนวัตกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความ ถี่ค่าเฉลี่ยทดสอโดยใช้สถิติที สถิติเอฟ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาคุณภาพการให้บริการและนวัตกรรมการให้บริการ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ พบว่า เพศ อายุสถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ผลศึกษาศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการพบว่า คุณภาพการให้บริการ มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการ อยู่ในระดับสูง (R=0.738) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผลการค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายนวัตกรรมการให้บริการ พบว่า มีตัวพยากรณ์ที่ดีจำนวน 3 ตัว ประกอบด้วย ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า (TQ5) ด้านการตอบสนองลูกค้า (TQ3)และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (TQ1) มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการ อยู่ในระดับสูง (R=0.734) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิตตพัฒน์ พรหมพงษ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จิราวดี รัตนไพทูรย์ชัย. (2557). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทยเติบโตรับ AEC. หนังสือพิมพ์. กรุงเทพธุรกิจ
เฉลิมพล กิจรุ่งเรื่อง. (2552). ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวไทยต่อการบริการ ของท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2559). นวัตกรรมการบริการ: กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่ 14 (2): 13-24.
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ และบัณฑิต ผังนิรันดร. (2557). การสร้างความภักดีต่อการใช้บริการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสาร มฉก. วิชาการ, 17 (34): 93-109.
พงศ์เสวก อเนกจำนงค์พร. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2562). จำนวนประชากร. [Online] Available: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php [2562, มิถุนายน 15].
วิณารัตน์ ภูวพัฒน์ชัยกิจ. (2559). คุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ส่งผลต่อความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการชาวไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด.
สุภัสสรา คงชม. (2558). นวัตกรรมของเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Ananth, M., DeMicco, F. J., Moreo, P. J., & Howey, R. M. (1992). Marketplace lodging needs of mature travelers. The Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 33 (4): 12-24.
Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques. NY: John Wiley & Sons.
Kankam-Kwarteng, C., Donkor, J., & Acheampong, S. (2019). Measuring Performance of SMEs Service Firms: Customer Orientation and Service Innovation Approach. Journal of Management Research, 19(2).
Ling, H. C., & Chao, C. (2019). The Quality of Service at Community Health Centers in Taiwan. International Journal of Organizational Innovation, 12 (1).
Millet, J.D. (2012). Management in the Publics Service: The Quest for Effective Performance. New York: Mcgraw-Hill Book Compan.
Parasuraman A., Zeithaml, V.A.; & Berry, L.L. (1985). E-S-QUAL: A Multiple-Item Scale for Assessing Electronic Service quality. Journal of Service Research. 7 (3): 213-234.
Schiffman, L., & Wisenblit, J. (2015). Comsumer Behavior. New York City: Pearson Education Limited.
TOSUNOGLU, B., CENGIZ, S., & DÖNMEZ, G. (2019). The Effect Of Service Quality Received From Members Of Accounting Profession On Consumer Satisfaction: Sampling of Gumushane. Muhasebe ve Finansman Dergisi, (2019).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.