การจำแนกลักษณะองค์ประกอบของระเบิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้เทคนิค Scanning Electron Microscope/Energy Dispersive X-ray Spectroscopy

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตำรวจเอก ดร.ธิติ มหาเจริญ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ธาตุองค์ประกอบ, วัตถุระเบิด, ชายแดนภาคใต้, กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด, เครื่องเอกซเรย์ สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะธาตุองค์ประกอบที่สำคัญในวัตถุระเบิด รวมถึงเปรียบเทียบปริมาณธาตุองค์ประกอบในวัตถุระเบิดแต่ละชนิดที่พบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้ตัวอย่างเศษวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 9 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดร่วมกับเครื่องเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ธาตุองค์ประกอบของวัตถุระเบิดที่มีปริมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ธาตุคาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) ออกซิเจน (O) แมกนีเซียม (Mg) อะลูมิเนียม (Al) ซิลิกอน (Si) โพแทสเซียม (K) โครเมียม (Cr) แมงกานีส (Mn) เหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) แคลเซียม (Ca) และกำมะถัน (S) ส่วนธาตุองค์ประกอบที่มีปริมาณไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ไทเทเนียม (Ti) โซเดียม (Na) และเงิน (Ag) เมื่อจำแนกธาตุองค์ประกอบแต่ละชนิดที่พบในตัวอย่างเศษวัตถุระเบิด พบว่า ธาตุคาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ซิลิกอน (Si) แมงกานีส (Mn) และเหล็ก (Fe) พบใน 9 ตัวอย่าง โพแทสเซียม (K) และสังกะสี (Zn) พบใน 8 ตัวอย่าง แคลเซียม (Ca) พบใน 7 ตัวอย่าง แมกนีเซียม (Mg) พบใน 6 ตัวอย่าง อะลูมิเนียม (Al) พบใน 5 ตัวอย่าง คลอรีน (Cl) พบใน 4 ตัวอย่าง ไนโตรเจน (N) โครเมียม (Cr) และกำมะถัน (S) พบใน 2 ตัวอย่าง สามารถสรุปได้ว่า วัตถุระเบิดทั้ง 9 ตัวอย่าง มีลักษณะธาตุองค์ประกอบ จำนวน และปริมาณธาตุที่เป็นองค์ประกอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสารที่มีคุณสมบัติในการระเบิดและสารที่นำมาผสมเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นวัตถุระเบิด

References

กรมสรรพาวุธทหารบก. (2558). คู่มือการป้องกันเกี่ยวกับวัตถุต้องสงสัย สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: กรมสรรพาวุธทหารบก.

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2559). การระวังป้องกันเหตุลอบวางระเบิด. [Online] Available: https://bpptrain.go.th/ New/EOD3.pdf. [2562, มกราคม 15].

ข่าวสดออนไลน์. (2017). เหตุการณ์ระเบิดทหารพราน. [online]. Available https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_522271. [2562, มิถุนายน 22].

ณปภัช พิมพ์ดี. (2560). ธาตุและสารประกอบ. [Online] Available: https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7175-2017-06-05-13-51-33. [2562, กุมภาพันธ์ 4].

พรสวรรค์ อุดมฤทธาวุฒิ. (2555). การวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการก่อเหตุระเบิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไทยพีบีเอส. (2018). เหตุการณ์วางระเบิด. [Online] Available: https://news.thaipbs.or.th/content/272323[2562, มกราคม 17].

ไทยรัฐออนไลน์.(2562). คาร์บอมบ์. [online]. Available https://www.thairath.co.th/news/local/south/1464848 [2562, มกราคม 23].

ภูริภัทร เพชรคง. (2555). การตรวจวัดสารระเบิดอนินทรีย์ที่นิยมใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเทคนิคไอออนโครมาโทกราฟี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. (2560). สรุปเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. [Online] Available: https://deepsouthwatch.org/index.php/th. [2562, มกราคม 15].

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). กล้องจุลทรรศน์. [Online] Available: http://www3.rdi.ku.ac.th/cl/webpages/microscope.htm. [2562, กุมภาพันธ์ 4].

สมพงษ์ เตชะสมบูรณ์. (2560). นิติวิทยาศาสตร์กับการเสริมสร้างความยุติธรรม. [Online] Available: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/.pdf. [2562, มกราคม 9].

สำนักข่าวอิศรา. (2556). เรื่องเด่น-ภาคใต้. [Online] Available: https://www.isranews.org/.../20840-htm. [2561, ตุลาคม 15].

สำนักข่าวอิศรา. (2560). สรุประเบิดเสาไฟฟ้า. [Online] Available: https://www.isranews.org/south-news/other-news/55288-pole-55288. [2562, มกราคม 20].

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2562). นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560-2562. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2562). อัลกอริทึมของความแปรปรวนในความรุนแรง 15 ปีชายแดนใต้. [Online]. Available: https://deepsouthwatch.org/th/node/11928. [2562, ตุลาคม 27].

หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด. (2555). วัตถุระเบิด. [Online]. Available: https://sites.google.com/site/ordcrma/watthu-rabeid. [2561, ตุลาคม 15].

Hutchinson, J. P., Evenhuis, C. J., Johns, C., Kazarian, A. A., Breadmore, M. C., Macka, M., Hilder, E. F., Guijt, R. M., Dicinoski, G. W., and Haddad, P. R. (2007). Identification of Inorganic Improvised Explosive Devices by Analysis of Postblast Residues Using Portable Capillary Electrophoresis Instrumentation and Indirect Photometric Detection with a Light-Emitting Diode. Analytical Chemistry. 79 (18), 7005-7013.

Johns, C., Shellie, R. A., Potter, O. G., O'Reilly, J. W., Hutchinson, J. P., Guijt, R. M., Breadmore, M. C., Hilder, E. F., Dicinoski, G. W., Haddad, P. R. (2008). Identification of homemade inorganic explosives by ion chromatographic analysis of post-blast residues. J Chromatogr A. 1182 (2) :205-14. doi: 10.1016/j.chroma.2008.01.014. Epub 2008 Jan 11. PMID: 18221942.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

มหาเจริญ ธ. . (2022). การจำแนกลักษณะองค์ประกอบของระเบิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้เทคนิค Scanning Electron Microscope/Energy Dispersive X-ray Spectroscopy. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 209–226. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/276