ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ มีเครือรอด โรงเรียนวัดบึงทองหลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
  • เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

ผู้บริหารสถานศึกษา, ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา;

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1fจำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และทักษะด้านเทคนิควิธี ตามลำดับ 2) ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในขนาดสถานศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ดนัย ใจเย็น. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการ บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่ม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดพะเยา. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธนภัทร เทพสถิตย์. (2565). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปณิดา ใจดี. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลบ้านแพ้ว (วันครู 2500). การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภัสสร สุขสวัสดิ์. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูใน สถานศึกษาศูนย์เครือข่ายลุ่มน้ำพอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วณิชวรรณ รัตนจารุพิทักษ์. (2564). ทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชรีภรณ์ รัตนวงศ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2566). แผนดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 7 มกราคม 2567). จาก http://www.ccs1.go.th/planYear

สุนันท์ ฝอยหิรัญ. (2558). การศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุจิรา ปั่นโย. (2565). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

Caldwell, B. (2000). The changing role of the school principal : A review of developments in Australia and New Zealand, School-based management and school effectiveness. Routledge.

Drake & Roe. (1986). The Principalship. Macmillan.

Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, S. (1967). New patterns of management. New York: McGraw-Hill. Lunenberg, C. F. & Ornstein, C. A. (2004). Educational Administration: Concepts and practices (4th ed.). WadsWorth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14