เกี่ยวกับวารสาร

วารสารปัญญาภาวนา (Journal of Wisdom Development)
ISSN:
3057-0468 (Online)

วารสารปัญญาภาวนา ดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน คือ สถาบันพัฒนาวิชาการปัญญาภา เริ่มต้นดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2567 เป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ที่เน้นรับบทความด้านการศึกษา (Education) และบทความที่สัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา

วัตถุประสงค์
วารสารปัญญาภาวนามีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา (ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา) นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไปที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัย การศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงอย่างเป็นระบบในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ

ขอบเขต

วารสารปัญญาภาวนาเป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ที่เน้นรับบทความด้านการศึกษา (Education) และบทความที่สัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา โดยมีอนุสาขาที่รับตีพิมพ์ดังนี้
1.การบริหารการศึกษา (Educational Administration)
2.หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (Curriculum and Learning Management)
3.สังคมศึกษา (Social Studies)
4.พุทธศาสนศึกษา (Buddhist Studies)
5.การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)
6.การประถมศึกษา (Elementary Education)
7.มัธยมศึกษา (Secondary Education)
8.สุขศึกษาและพลศึกษา (Health and Physical Education)
9.เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational  Technology and Innovation)
10.คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education)
11.ศิลปศึกษา (Art Education)
12.ดนตรีศึกษา (Music Education)
13.นาฏศิลป์ศึกษา (Drama and Performance Education)
14.คณิตศาสตร์ศึกษา (Mathematics Education)
15.การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education)
16.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psycholog) 
17.การศึกษาพิเศษ (Special Education)
18.การจัดเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics learning Management)
19.ศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา (Sciences Relating to Education)

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์
1.บทความวิจัย (Research article)
2.บทความวิชาการ  (Academic article)
3.บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)

กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่: ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่
ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม

 

ภาษาที่รับตีพิมพ์: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

กระบวนการพิจารณาบทความ: ทุกบทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) จำนวน 3 คน โดยปกปิดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (Double Blinded) 

ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ: วารสารยังไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ