วารสารปัญญาภาวนา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD <p><strong>วารสารปัญญาภาวนา (Journal of Wisdom Development)<br /><br />ISSN: 3057-0468 (Online)</strong> <br /><br />วารสารปัญญาภาวนา ดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน คือ สถาบันพัฒนาวิชาการปัญญาภา เริ่มต้นดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2567 เป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ที่เน้นรับบทความด้านการศึกษา (Education) และบทความที่สัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา<br /><br /></p> <p><strong>วัตถุประสงค์<br /></strong>วารสารปัญญาภาวนามีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไปที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัย การศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงอย่างเป็นระบบในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ<strong><br /></strong></p> <p><strong>ขอบเขต</strong> <br />วารสารปัญญาภาวนาเป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ที่เน้นรับบทความด้านการศึกษา (Education) และบทความที่สัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา โดยมีอนุสาขาที่รับตีพิมพ์ดังนี้<br />1.การบริหารการศึกษา (Educational Administration)<br />2.หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (Curriculum and Learning Management) <br />3.สังคมศึกษา (Social Studies)<br />4.พุทธศาสนศึกษา (Buddhist Studies)<br />5.การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)<br />6.การประถมศึกษา (Elementary Education)<br />7.มัธยมศึกษา (Secondary Education)<br />8.สุขศึกษาและพลศึกษา (Health and Physical Education)<br />9.เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Technology and Innovation)<br />10.คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education)<br />11.ศิลปศึกษา (Art Education)<br />12.ดนตรีศึกษา (Music Education)<br />13.นาฏศิลป์ศึกษา (Drama and Performance Education) <br />14.คณิตศาสตร์ศึกษา (Mathematics Education)<br />15.การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education)<br />16.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psycholog) <br />17.การศึกษาพิเศษ (Special Education)<br />18.การจัดเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics learning Management) <br />19.ศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา (Sciences Relating to Education)</p> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ <br /></strong>1.บทความวิจัย (Research article) <br />2.บทความวิชาการ (Academic article) <br />3.บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่:</strong> ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่<br />ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-เมษายน<br />ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์:</strong> ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ:</strong> ทุกบทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) จำนวน 3 คน โดยปกปิดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (Double Blinded) </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ: </strong>วารสารยังไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ</p> สถาบันพัฒนาวิชาการปัญญาภา 149/16 หมู่ 6 ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 th-TH วารสารปัญญาภาวนา 3057-0468 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/983 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1fจำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และทักษะด้านเทคนิควิธี ตามลำดับ 2) ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในขนาดสถานศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กมลวรรณ มีเครือรอด เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร Copyright (c) 2025 กมลวรรณ มีเครือรอด, เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร 2025-04-14 2025-04-14 2 1 1 14 สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/1336 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามเพศ และขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 97 คน .. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ 2.ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1ที่มีเพศต่างกันและขนาดของสถานศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3.ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจ และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน</p> อิสริยา ศรีเมือง เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร ธนิก คุณเมธีกุล Copyright (c) 2025 อิสริยา ศรีเมือง, เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร, ธนิก คุณเมธีกุล 2025-04-14 2025-04-14 2 1 15 27 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/1119 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในกลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 136 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านการนิเทศการสอน 2) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน 3) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 4) ด้านการกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน และ 5) ด้านการกำหนดพันธกิจ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แต่งต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อรพิน บูรณะ Copyright (c) 2025 อรพิน บูรณะ 2025-04-14 2025-04-14 2 1 28 46 บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/807 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการสอน และขนาดของสถานศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน ซึ่งเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยค้ำจุนสูงกว่าปัจจัยจูงใจ</li> <li class="show">การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามวิทยฐานะ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> ภูรดา ทัศนเวช Copyright (c) 2025 ภูรดา ทัศนเวช 2025-04-14 2025-04-14 2 1 47 63 คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/734 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการสอน ของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1. ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร สถานศึกษาในสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการประสานสังคมและชุมชน 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 5) ด้านบริหารจัดการ และ 6) ด้านการจัดระบบที่ดี 2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขต นวสิรินครินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างผู้ตอบที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมี ทั้งโดยรวมและรายด้าน 3 ด้านคือ 1) ด้านบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดระบบที่ดี 3) ด้านการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร และ 4) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม</p> ทิพย์มณี สีหาบุตร Copyright (c) 2025 ทิพย์มณี สีหาบุตร 2025-04-14 2025-04-14 2 1 64 81 ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/803 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะ ผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครู จำนวน 92 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตรางของเครซี่ มอร์ แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการตระหนักรู้ 2) ด้านการบำรุงรักษาบุคคล 3) ด้านการมีจิตบริการ 4) ด้านการพัฒนาบุคคล 5) ด้านการเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ 6) ด้านการโน้มน้าวใจ และ 7) ด้านการสร้างมโนทัศน์ ตามลำดับ</li> <li class="show">ครูศูนย์การเรียนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีภาวะผู้นำใฝ่บริการของ ผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL โดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน</li> </ol> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3. ครูศูนย์การเรียนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ภาวะผู้นำใฝ่บริการของ ผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p> บัณฑิต แป้นเมือง Copyright (c) 2025 บัณฑิต แป้นเมือง 2025-04-14 2025-04-14 2 1 82 97 ทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/1270 <p>ในยุคดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะเพื่อการแสวงหาความสำเร็จในองค์กรการศึกษา ทักษะผู้นำในยุคนี้ต้องควบคุมถึงความสามารถในด้านต่างๆ มีความสามารถในการปรับตัวด้านการใช้ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ และรู้จักหาวิธีที่จะพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา การเตรียมความพร้อมที่จะ เปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเชิงกลยุทธ์แบบอนาคต รู้จักกระจายความเป็นผู้นำ ในองค์กร และการบูรณาการระหว่างความรู้เดิมกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่มาใช้ในการพัฒนา ผู้บริหาร สถานศึกษาที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ โดยนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;พันธกิจ และจุดมุ่งหมายในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี มีความเป็นผู้นำองค์กรด้านนวัตกรรม จะทำให้องค์กร กลายเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้กับการบริหารจัดการสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับทักษะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ สอดคล้องกับเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต</p> อำนวย มีราคา ปราณี คนสวย Copyright (c) 2025 อำนวย มีราคา, ปราณี คนสวย 2025-04-14 2025-04-14 2 1 97 109 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOWD/article/view/534 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 358 คน ตัวอย่างนักเรียน จากกลุ่มประชากร 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ จำนวน 3 แผน แผนละ 50 นาที แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเป็นชาวพุทธที่ดีตามหลักทิศ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การเข้าใจในกิจของพระภิกษุ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า&nbsp; 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ (5Es) หลังเรียนดีกว่าก่อนเรียน และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) มีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้น</p> พนิตสุภา ชูบุญ สุเนตร ชัยป่ายาง Copyright (c) 2025 พนิตสุภา ชูบุญ, สุเนตร ชัยป่ายาง 2025-04-14 2025-04-14 2 1 110 120