บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
คำสำคัญ:
บทบาทของผู้บริหาร, แรงจูงใจ, สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการสอน และขนาดของสถานศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน ซึ่งเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัย พบว่า
- บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยค้ำจุนสูงกว่าปัจจัยจูงใจ
- การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามวิทยฐานะ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขาล สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชัยณรงค์ ใจเกลี้ยง และอนุศักดิ์ ห้องเสงี่ยม. (2561). แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(1), 83-102.
นิศากร สุขะกาศรี. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาลชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
บงกชธร เพิกนิล. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสัตหีบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการเอกชนศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
พัชรี เหลืองอุดม. (2554). แรงจูงใจการปฏิบัติงานของครูที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไพบูลย์ ดำสมุทร. (2552). การบริหารตามหลักธรรมภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา. นนบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. มนตรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด. บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
ศิริวรรณ อินทสโร. (2560). แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
เอนก บุญสัมพันธ์กิจ. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
เอื้อมพร บัวสรวง. (2551). รูปแบบภาวะผู้นำและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการเขต 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Herzberg, F. (1975). The motivation to work. John Wiley and Sons.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale in Attitude Theory Measurement. Wiley & Son.
