ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ใฝ่บริการ, ศูนย์การเรียน, เครือบริษัท CP ALLบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะ ผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครู จำนวน 92 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตรางของเครซี่ มอร์ แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการตระหนักรู้ 2) ด้านการบำรุงรักษาบุคคล 3) ด้านการมีจิตบริการ 4) ด้านการพัฒนาบุคคล 5) ด้านการเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ 6) ด้านการโน้มน้าวใจ และ 7) ด้านการสร้างมโนทัศน์ ตามลำดับ
- ครูศูนย์การเรียนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีภาวะผู้นำใฝ่บริการของ ผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL โดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ครูศูนย์การเรียนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ภาวะผู้นำใฝ่บริการของ ผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ในเครือบริษัท CP ALL โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
References
ชัยฤทธิ์ ใต้อุดม. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการดําเนินงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ทองอินทร์ อุบลชัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน). (2566). ข้อมูลงานทะเบียนปีการศึกษา 2566. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
ปองภพ ภูจอมจิตร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรพิพัฒน์ ตั้งจิตรวัฒนากุล. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(1), 38-54.
ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติ. บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษานอกระบบ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116, ตอนที่ 98 ก, 28 สิงหาคม 2560, หน้า 5-12.
ศิรินทิพย์ เพ็งสง. (2563). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อนุวัฒน์ วิภาคธำรงคุณ. (2553). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสามโคก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 271-282.
อภิชาติ อนันตภักดิ์. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรขอข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรรัตน์ ศรีทอง. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. Harper Collins.
Razik, T. A., & Swanson, A. D. (2001). Fundamental concepts of educational leadership. Merrill Prentice-Hall.
Thomson, C. H. (2005). The public School Superintendent and Servant Leadership. Ed.D. Dissertation, Wisconsin University, USA.
Wong, N. (2005). Servant leadership: An opponent - process model and the revised servant Leadership profile. Master's thesis, Regent University, Virginia, USA.
Yukl, G., & Mahsud, R. (2010). Why Flexible and Adaptive Leadership Is Essential. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 12(3), 78-93.
