เกี่ยวกับวารสาร

วารสารปัญญาภาวนา (Journal of Wisdom Development)

ISSN: 3057-0468 (Online)


วารสารปัญญาภาวนา ดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน คือ สถาบันพัฒนาวิชาการปัญญาภา เริ่มต้นดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2567 เป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ที่เน้นรับบทความด้านการศึกษา (Education) และบทความที่สัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา

วัตถุประสงค์
วารสารปัญญาภาวนามีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไปที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัย การศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงอย่างเป็นระบบในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ

ขอบเขต
วารสารปัญญาภาวนาเป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ที่เน้นรับบทความด้านการศึกษา (Education) และบทความที่สัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา โดยมีอนุสาขาที่รับตีพิมพ์ดังนี้
1.การบริหารการศึกษา (Educational Administration)
2.หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (Curriculum and Learning Management)
3.สังคมศึกษา (Social Studies)
4.พุทธศาสนศึกษา (Buddhist Studies)
5.การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)
6.การประถมศึกษา (Elementary Education)
7.มัธยมศึกษา (Secondary Education)
8.สุขศึกษาและพลศึกษา (Health and Physical Education)
9.เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational  Technology and Innovation)
10.คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education)
11.ศิลปศึกษา (Art Education)
12.ดนตรีศึกษา (Music Education)
13.นาฏศิลป์ศึกษา (Drama and Performance Education)
14.คณิตศาสตร์ศึกษา (Mathematics Education)
15.การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education)
16.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psycholog) 
17.การศึกษาพิเศษ (Special Education)
18.การจัดเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics learning Management)
19.ศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา (Sciences Relating to Education)

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์
1.บทความวิจัย (Research article)
2.บทความวิชาการ  (Academic article)
3.บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)

กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่: ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่
ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม

ภาษาที่รับตีพิมพ์: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

กระบวนการพิจารณาบทความ: ทุกบทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) จำนวน 3 คน โดยปกปิดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (Double Blinded) 

ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ: วารสารยังไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ

ฉบับปัจจุบัน

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2025): วารสารปัญญาภาวนา (ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2568)
					ดู ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2025): วารสารปัญญาภาวนา (ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2568)

การพัฒนาปัญญา (Wisdom Development) หรือตามหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ปัญญาภาวนา” เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนามนุษย์ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วิธีคิดคือปัญญา ซึ่งการศึกษานับมีส่วนสำคัญในการพัฒนาปัญญาของมนุษย์  วารสารปัญญาภาวนาฉบับนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 2 มีบทความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาของมนุษย์จากสายการศึกษา จำนวน 8 บทความ ประกอบด้วย 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยว 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 4) บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 5) คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 6) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้จัดการศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ในเครือบริษัท CP ALL 7) ทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และ 8) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่องหน้าที่ชาวพุทธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์บทความทุกท่านที่กรุณาให้ความไว้วางใจในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารปัญญาภาวนา ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ทำหน้าที่พิชญพิจารณ์กลั่นกรองบทความอย่างเข้มข้น และ ขอขอบคุณข้อเสนอแนะในการปรังปรุงการดำเนินการจากผู้อ่านและผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ซึ่งกองบรรณาธิการจะนําไปปรับปรุงพัฒนาทั้งด้านการบริหารจัดการและด้านคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อให้วารสารได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

เผยแพร่แล้ว: 2025-04-23

ฉบับเต็ม

Articles

ดูทุกฉบับ