The Study of Memorandums of Understanding (MoUs) for Research Collaboration of Mahidol University

Authors

  • Tavinvong Kuhakongkeat Research Management and Development Division, Office of the President, Mahidol University, Nakhon Pathom, Thailand 73170
  • Sirawan Assawamakin Research Management and Development Division, Office of the President, Mahidol University, Nakhon Pathom, Thailand 73170

Keywords:

Memorandums of Understanding, research management mechanism, research collaboration

Abstract

มหาวิทยาลัยมหิดลมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนงจึงมีศักยภาพที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลผลิตงานวิจัยให้มีผลกระทบในวงกว้างทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ จึงมีกลไกการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับหน่วยงานภายนอก ผ่านการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ในการวิเคราะห์นี้จะกล่าวถึงโครงสร้าง องค์ประกอบหลัก และสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย กลไกการบริหารและขั้นตอนการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย โดยเป็นข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล กับ หน่วยงานภายนอกทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ บททั่วไป สาระสำคัญ บทบัญญัติทั่วไป และบทลงท้าย และสามารถจำแนกขั้นตอนการดำเนินงานได้เป็น 4 ขั้นตอน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาข้อมูลจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย ช่วงปีงบประมาณ 2563-2565 (1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2565) พบว่าการจัดทำบันทึกข้อตกลงฯ ที่มีการใช้แบบฟอร์มมาตรฐานของมหาวิทยาลัยใช้เวลาในการดำเนินการตรวจสอบน้อยกว่าการจัดทำบันทึกข้อตกลงฯ ที่ไม่ใช้แบบฟอร์มมาตรฐานของมหาวิทยาลัยโดยเฉลี่ยจำนวน 5.39 วันทำการ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.21 แสดงให้เห็นว่าการใช้แบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ส่วนงาน บุคลากรกองบริหารงานวิจัย และนิติกรในการตรวจสอบเอกสาร และใช้เวลาน้อยกว่าในการดำเนินงาน 

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). คู่มือการจัดทำ MOU ท้องถิ่น. https://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet

กุลวรรธ สุริยะศรี. (2562). รายงานการวิเคราะห์: ปัจจัยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://lawdivision.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/งานวิเคราะห์-เรื่อง-ปัจจัยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้าง.pdf

กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). แจ้งแบบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย และแบบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ. https://op.mahidol.ac.th/ra/contents/research_regulation/MOU_RESEARCH-ACADEMIC.pdf

กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). แนวทางในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย. https://op.mahidol.ac.th/ra/contents/research_regulation/Flow_MOU4ResearchCollaboration.pdf

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). หนังสือแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญ พี.เอส.เพรส.

จิตตานันท์ ติกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการแจ้งเวียนเอกสารโดยการประยุกต์ใช้ Google Forms กรณีศึกษา การรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย. ใน การประชุมวิชาการการวิจัยและระบบการศึกษาไทย ครั้งที่ 1 (หน้า 114-120). ชลบุรี: โรงแรมนงนุช การ์เด้น รีสอร์ท.

จิตตานันท์ ติกุล และอนุรักษ์ เผยกลาง. (2560). ประสิทธิภาพของการแจ้งเวียนเอกสารโดยการประยุกต์ใช้ Google Form. วารสารวิชาการ ปขมท., 6(2), 55-56.

จรวยพร ศรีศศลักษณ์ และอภิญญา ตันทวีวงศ์. (2551). R2R: Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการวิจัยสู่โลกใหม่ของงานประจำ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

งานวินัยและนิติการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). การจัดทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ MOU. https://medlaw.medicine.psu.ac.th/filemanager/file/102/66-00150%20การจัดทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ%20MOU.pdf

ชนินาถ สุริยะลังกา. (2565). ผลกระทบของโรคโควิด19ต่อการบริหารจัดการสัญญาจ้างการวิจัยทางคลินิกมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(3), 140-147.

นพจิรา ฤกษ์จรนามกุล. (2565). การวิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้างก่อสร้างเฉพาะสำหรับโครงการก่อสร้างซึ่งใช้การจำลองสารสนเทศอาคาร. https://digital.car.chula.ac.th/Chulaetd/6540/

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.

มนตรี สังข์ทอง. (2566). สถิติวิจัย: การวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ ยิ้มขลิบ, วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล, อัจฉรา วัฒนาณรงค์, และศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2566). สมรรถนะการวิจัย: การวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research: R2R). Lawarath Social e-Journal, 5(1), 176-191.

สำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570. ปทุมธานี: บริษัท วิชั่น พรีเพรส จำกัด.

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.). (2566). คู่มือสำหรับนักวิจัยที่ได้รับทุนวิจัย บพข. https://pmuc.or.th/wp-content/uploads/2023/06/20230912-คู่มือนักวิจัยที่ได้รับทุน-PMU-C-ใช้งาน.pdf

Downloads

Published

15-01-2025

How to Cite

Kuhakongkeat , T. ., & Assawamakin, S. . (2025). The Study of Memorandums of Understanding (MoUs) for Research Collaboration of Mahidol University. CUAST Journal, 14(1), e1342. retrieved from https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1342