สมรรถนะที่จำเป็นและแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนด้านการจัดหารายได้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปรียชาต การปลื้มจิตต์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002

คำสำคัญ:

สมรรถนะที่จำเป็น, การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนที่รับผิดชอบด้านการจัดหารายได้ 2. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรสายสนับสนุนที่รับผิดชอบด้านการจัดหารายได้ ประชากรกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ เป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่รับผิดชอบด้านจัดหารายได้ สังกัดกองบริหารงานคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 8 คน และผู้บริหารระดับสูงของคณะที่กำหนดและกำกับนโยบายด้านจัดหารายได้ จำนวน 2 คน  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกตามหลักการบริหารงานเชิงคุณภาพ (PDCA)  ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนที่รับผิดชอบด้านจัดหารายได้ มีดังนี้ (1.1) สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (1.2) สมรรถนะด้านการสื่อสาร (1.3) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.4) สมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านศิลปกรรม 2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น มีดังนี้ (2.1) อบรมเชิงปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านเทคนิคการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ด้านเทคนิคการวิเคราะห์ผลงานศิลปกรรม (2.2) อบรมในขณะปฏิบัติงานโดยการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.3)อบรมขณะปฏิบัติงานโดยอาศัยสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานจริง (2.4)การเพิ่มคุณค่าในงานโดยการมอบหมายงาน การให้คำปรึกษาแนะนำและการสอนงาน

References

จิตติมา ปฏิมาประกอบ. (2559). การพัฒนาและการจัดการคุณลักษณะ ทักษะการขายของนักขายที่ส่งผลต่อเป้าหมายของบริษัทในอุตสาหกรรมการพิมพ์ประเภทฉลากสินค้า: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคนบนความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เต๋า (2000).

จิรประภา อัครบวร. (2565). งานทรัพยากรมนุษย์ในยุค 5.0-HR 5.0 : Digital HR System. กรุงเทพฯ: บริษัทกรกนกการพิมพ์ จำกัด.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2559). การพัฒนาบุคลากรแบบ HR มืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมนิติ เพรส จำกัด.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ตระกูล จิตวัฒนากร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(2), 91–100. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/251652

ธรรมชนก ขนอม. (2566). การศึกษาสมรรถนะหลักและสมรรถนะการปฏิบัติงานตามตำแหน่งบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดส่วนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ตามทัศนะของหัวหน้าสำนักงานคณะ. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(1), 62–67. สืบค้นจาก https://www.council-uast.com/journal/upload/fullpaper/14-01-2023-807941250.pdf

บุญเลิศ พิมศักดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของเครือข่ายสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(2), 24–32. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/jdhss/article/view/7980

บุรธัช โชติช่วง, และ ธีรวุฒิ บุญยโสภณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการร้านกาแฟ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(4), 680–685. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/226058/154446

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง: กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

ปิยะดา พิศาลบุตร. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 11(1), 118–127. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/index

พิมพา หิรัญกิตติ, สัญจิตา พรมโชติ, รุจิกาญจน์ สานนท์, และ ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์. (2564). สมรรถนะด้านการตลาดที่จำเป็นของพนักงานการตลาดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการสังคมเครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(2), 27–42. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/253711

เพ็ญนภา แซ่จั่น. (2552). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหลักของพนักงานธนาคารออมสินใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ

ภารตา อภินันท์ธรรม, และ สมนึก วิสุทธิแพทย์. (2563). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารธุรกิจออนไลน์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(1), 159–169. สืบค้นจาก https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/kjournal/article/view/2338

มารุต นนทสายธาร, ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์, และ ปานเทพ ลาภเกสร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ในองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร สำหรับผู้บริหารในโรงเรียนหัวเฉียว อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 32(1), 75–79. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/85869

วรรณดี สุทธินรากร, ภูวเรศ อับดุลสตา, และ สมเกียรติ สุทธินรากร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามบริทัศน์ จำกัด.

วิไล พึ่งผล. (2561). สมรรถนะทางปัญญาเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการยุคใหม่สำหรับ SMEs ไทยเพื่อผลประกอบการธุรกิจในยุคประเทศไทย 4.0 (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก https://www.ftpi.or.th/2015/2125

ศศิกาญจน์ สามัคคีนนท์. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจในประสิทธิภาพการทำงานตามสมรรถนะหลัก (Core Competency) ของพนักงานธนาคารออมสินภาค 3 (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/9879

อรุณกมล ศุขอเนก. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1985

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2025

How to Cite

การปลื้มจิตต์ ป. . . (2025). สมรรถนะที่จำเป็นและแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนด้านการจัดหารายได้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(2), e2079. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2079