ความต้องการและแนวทางการพัฒนางานบริการสหกิจศึกษาของนิสิตคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ:
ความต้องการ, แนวทางการพัฒนางานบริการสหกิจศึกษา, คณะโลจิสติกส์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนิสิตที่มีต่องานบริการสหกิจศึกษา คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเสนอแนวทางการพัฒนางานบริการสหกิจศึกษาของนิสิต คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตคณะโลจิสติกส์ที่ลงเรียนรายวิชาสหกิจศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแนวทางการพัฒนางานบริการสหกิจศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการของนิสิตที่มีต่องานบริการสหกิจศึกษาคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.13, SD = 0.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ด้านสารสนเทศหน่วยงาน และด้านคุณภาพการให้บริการ สำหรับแนวทางการพัฒนางานบริการสหกิจศึกษาของนิสิตคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ควรมีการติดตามผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนิสิตเป็นระยะ พร้อมสรุปจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลให้นิสิตรุ่นต่อไปใช้ตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ สถานศึกษา และสถานประกอบการควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการนิเทศงานสหกิจศึกษา โดยทุกคนต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนิสิต ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรเน้นไปที่การจัดการข้อมูลและเอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาอย่างเป็นระบบ ด้านคุณภาพการให้บริการ ควรมีความรวดเร็ว ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และตรวจสอบได้ และด้านสารสนเทศหน่วยงาน ควรมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารในรูปแบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยย่อยข้อมูลจากประกาศ คำสั่ง หรือขั้นตอนที่เป็นวิชาการ นำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก หรือวิดีโอคลิปสั้น ๆ
References
กชพร เมฆานิมิตดี. (2564). การดำเนินงานสหกิจศึกษาของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 125–139.
คณะกรรมการจัดทำคู่มือการจัดสหกิจศึกษา สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2555). คู่มือการจัดสหกิจศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พริ้นซิตี้.
คณะกรรมาธิการการศึกษา. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาในยุคโควิด. กรุงเทพมหานคร: วุฒิสภา.
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน).
ชลลดา มงคลวนิช. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, 7(1), 67–82.
ณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). ความคาดหวัง การรับรู้ของนักศึกษา และความคิดเห็นของผู้ประกอบการในการประเมินผลการเรียนรู้การฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1802–1816.
วรรณวิภา พีราวัชร. (2549). คุณภาพในการให้บริการของ บมจ. ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกบ้านแขก (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2563). จากสหกิจศึกษา (Cooperative education) สู่สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and work-integrated education: CWIE). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.coop.sut.ac.th/CWIE/CWIE.pdf (สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565).
สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย (สคช.) (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.