การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, จัดสรรเงิน, ค่าธรรมเนียมการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาด้วยหลักการ LEAN ที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเปล่า โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาและข้อมูลค่าธรรมเนียมการศึกษาจากฐานข้อมูลของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับการบันทึกระยะเวลา/ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังตารางเวลาและวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรม ในส่วนการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้เครื่องมือดังนี้ PHP, Laravel Framework: ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรมบนเว็บ MySQL: ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลการจัดสรรค่าธรรมเนียมการศึกษา และบริหารจัดการโครงการระบบสารสนเทศด้วย Microsoft Teams และ Microsoft Planner ผู้ใช้งานระบบประกอบด้วยผู้บริหารคณะ หัวหน้าสาขาวิชา ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องของกองบริหารงานคณะและสาขาวิชา ผลจากการวิจัย คือ ได้โปรแกรมในการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาที่คำนวณรายรับค่าธรรมเนียมการศึกษาอัตโนมัติตามรูปแบบที่ได้กำหนดค่าไว้ตามหลักเกณฑ์การจัดสรรเงิน ด้วยระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลด้วยการลงบันทึกเข้าใช้งาน ซึ่งโปรแกรมสามารถรายงานผลรายรับค่าธรรมเนียมการศึกษาแยกตามหลักสูตรและสาขาวิชา รวมทั้งลดกิจกรรมในกระบวนการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา จาก 9 กิจกรรมเหลือ 6 กิจกรรม ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานจาก 11,565 นาที เหลือ 40 นาที และลดต้นทุนกิจกรรมได้ถึง 3,020 บาทต่อภาคการศึกษา
References
คณะวิทยาศาสตร์. (2565). ยุทธศาสตร์การบริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2565–2569. เอกสารอัดสำเนา. ขอนแก่น.
ชนิศา หอมหวล และ ปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2564). การลดต้นทุนกิจกรรมที่สูญเปล่าจากความผิดพลาดและความล่าช้าในกระบวนการติดตามเอกสารทางการเงิน กรณีศึกษาสถานบริหารวิจัยคลินิกในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 78–93.
ญดา ประสมพงค์, ธวัช วราไชย, จุรีพร กาหยี, และ รจนา แก้วพิบูลย์. (2565). พัฒนาระบบการยื่นคำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(1), 59–69.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธี. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29 สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565.
ปณัทพร เรืองเชิงชุม และ จารุวรรณ มินดาทอง. (2564). การลดความสูญเปล่าจากการใช้ข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบในยุคดิจิทัล 4.0 โดยประยุกต์ใช้หลักการ ECDRS ร่วมกับโซ่อุปทาน. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 20–37.
Heizer, J., Render, B., & Munson, C. (2017). Principles of operations management: Sustainability and supply chain management (10th ed.). New York: Pearson.
Kurokawa, Y. (2010). M&A for value creation in Japan (6th ed.). Singapore: World Scientific.
Laudon, K. C., & Laudon, J. P. (2001). Management information system: Organization and technology (3rd ed.). New York: Macmillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.