การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะการมีงานทำของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ผ่านการคัดเลือกประเภทคัดเลือกเรียนดีและประเภทความสามารถพิเศษ (โควตา) กับประเภทสอบคัดเลือกทั่วไป (รอบทั่วไป)
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ภาวะการณ์มีงานทำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี จำแนกตามสาขาวิชาและประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาจำแนกตามสาขาวิชาและประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก 3) ศึกษาภาวะการมีงานทำของนักศึกษา จำแนกตามสาขาวิชาและประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ปีการศึกษา 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ยของแต่ละคน ผลการวิจัยพบว่า
1) นักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี จำนวน 389 คน เป็นนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกประเภท (โควตา) จำนวน 268 คน สำเร็จการศึกษาจำนวน 230 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก จำแนกตามสาขาวิชาพบว่าทุกสาขามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และนักศึกษาประเภท (รอบทั่วไป) จำนวน 121 คน สำเร็จการศึกษาจำนวน 102 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก จำแนกตามสาขาวิชาพบว่า สาขาวิชาภาษาอังกฤษมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาษาไทย สังคมศึกษา ดนตรีศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไปมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และสาขาวิชาพลศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ที่รับเข้าศึกษาโดยระบบรอบทั่วไป
มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาที่รับเข้าศึกษาโดยระบบโควตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) นักศึกษาประเภทโควตา สำเร็จการศึกษาจำนวน 230 คน มีงานทำจำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 77.83 และนักศึกษาประเภททั่วไป สำเร็จการศึกษาจำนวน 102 คน มีงานทำจำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 81.37
References
กาญจนา แย้มเสาธง. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรม
ศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ใน วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(2), 24.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2561). คณะครุศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://edu.psru.ac.th/v2016/index1.php (สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2021).
ฐิติพงษ์ เลิศวิริยะประภา, อรอุษา ขำเกลี้ยง, และ ศิริรักษ์ เขมาภิรักษ์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษาโครงการเรียนดีกับนักศึกษาโครงการปกติ. ใน วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2(1), 49–50.
ธิติมา พลับพลึง และ ปิยพงศ์ พลับพลึง. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าเรียนโดยวิธีโควตาและการสอบคัดเลือกของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. ใน รายงานการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 34.
บุญสิตา ทองสุข. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกตามประเภทการรับเข้าศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ใน รายงานการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 74–77.
พเยาว์ ดีใจ และคณะ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทโควตาและการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. ใน รายงานการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 28.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2564). คู่มือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2564. พิษณุโลก.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2553). ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553. สกลนคร.
วีราวัลย์ จันทร์ปลา, แคชรินทร์ ทับทิมเทศ, และ วัลวิภา สัตถาวร. (2555). ศึกษาลักษณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เข้าศึกษาปีการศึกษา 2554. ใน รายงานการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 75–77.
วรวิทย์ กุลตังวัฒนา และคณะ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ระหว่างนิสิตที่รับตรง รับผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและรับเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. ใน บทความการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6, 1268.
สันต์ชัย เบี้ยมุกดา และคณะ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยระบบโควตา ระบบสอบตรง และระบบแอดมิชชั่น (Admission). ใน รายงานการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.