การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ, BSL Checklist, ESPReL Checklist, องปฏิบัติการความปลอดภัย ทางชีวภาพระดับที่ 2บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL Checklist) และรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BSL Checklist) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าคะแนนของแต่ละองค์ประกอบด้านความปลอดภัยของปี พ.ศ. 2565 และปี พ.ศ. 2566 เทียบกับปี พ.ศ. 2564 พบว่า (1) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยจากรายการสำรวจด้วย ESPReL Checklist ในปี พ.ศ. 2565 พบ 5 องค์ประกอบหลักจาก 7 องค์ประกอบหลักมีค่าคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และพบ 1 องค์ประกอบย่อยที่มีค่าคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 80.0 คือ องค์ประกอบที่ 3.4 การบำบัดและกำจัดของเสีย (2) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยจากรายการสำรวจ ESPReL Checklist ในปี พ.ศ. 2566 พบ 1 องค์ประกอบหลักที่มีค่าคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย และพบ 3 องค์ประกอบย่อยที่มีค่าคะแนนลดลงมากกว่าร้อยละ 3.0 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 2.1 การจัดการข้อมูลสารเคมี องค์ประกอบที่ 5.1 การบริหารความเสี่ยง และองค์ประกอบที่ 5.2 การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น ห้องปฏิบัติการควรดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย โดยเฉพาะองค์ประกอบที่มีค่าคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญอย่างเร่งด่วน (3) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยจาก BSL Checklist ในปี พ.ศ. 2564–พ.ศ. 2566 พบว่า ห้องปฏิบัติการมีการธำรงรักษาสภาพองค์ประกอบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพทั้ง 2 องค์ประกอบ
References
กาญจนา สุรีย์พิศาล. (2564). การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L–210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. วารสาร Mahidol R2R e–Journal, 8(1), 49–62. https://doi.org/10.14456/jmu.2021.5
กาญจุรีย์ ว่องไวรัตนกุล. (2565). การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมี 1 ตามมาตรฐานการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL). วารสารวิชาการ ปขมท., 11(2), 110–123.
คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2566). รายการสำรวจสภาพความปลอดภัยทางชีวภาพของห้องปฏิบัติการ Biosafety Level 2 (BSL–2) Checklist. สืบค้นจาก http://www.ibc.research.chula.ac.th/th/document/cuibc–12–bsl2–v2.pdf
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. (2558). คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2. สืบค้นจาก http://esprel.labsafety.nrct.go.th/files/ESPReL–Book2.pdf
ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2558). การพัฒนาตัวอย่างห้องปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 64, 33–46.
ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2560). การสำรวจประเมินองค์ประกอบด้านลักษณะทางกายภาพของอาคารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการความปลอดภัย: อาคารมหามกุฏ (รหัสอาคาร: SCI25) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 39(66), 19–36.
พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2558). ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 667–681.
พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558. (26 สิงหาคม 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 80 ก: 9–31.
รัตนา ใจบุญ. (2565). การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(3): 24–31.
วาทิศ วารายานนท์. (2566). การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(2), 134–143.
วาทิศ วารายานนท์. (2566). การสำรวจสภาพความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้วย ESPReL Checklist และ BSL Checklist. วารสาร Mahidol R2R e–Journal, 8(1), 49–62. https://doi.org/10.14456/jmu.2023.1
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2566). คู่มือการประเมินสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการโดยใช้ ESPReL Checklist. สืบค้นจาก https://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/120/25660605–Manual–ESPReL%20Checklist.pdf
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาตา ชินะจิตร. (2555). บทสรุปผู้บริหาร ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ: พัฒนาได้อย่างไร ใช้จริยธรรมสร้าง
ความตระหนักรู้สู่วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณีย์ เมืองจันทร์บุรี, พันธ์วศรี แสงสุวรรณ, ดำรงศักดิ์ ร่มเย็น และ สุพัตรา แก้วทะโร. (2566). การพัฒนาห้องปฏิบัติการอิมมูโนพยาธิวิทยาตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL). วารสารวิชาการ ปขมท., 12(3), 21–30.
เสาวรัตน์ จันทะโร. (2561). การบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการปลอดภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Wiriyakraikul, C., Sorachoti, K., Suppradid, J., Amatyakul, W., & Dhanakoses, K. (2022). Characteristics of laboratory safety problem in academic laboratory facilities in a Thai university. ACS Chemical Health & Safety, 29(2), 214–222. https://doi.org/10.1021/acs.chas.1c00077
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.