ความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ, กระบวนการ PDCA, การรับรู้บทคัดย่อ
การรับรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศและเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกับกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรสายผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 85 ตัวอย่าง ซึ่งข้อมูลการรับรู้และการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศถูกวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และกระบวนการดำเนินงานเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และความสัมพันธ์หลายตัวตัวแปรแบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผู้บริหารและนโยบาย และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ การรับรู้กระบวนการดำเนินงานกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศด้วยระบบ PDCA ทั้ง 4 ด้าน มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมาก โดยด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน (Plan) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการนำผลประเมินมาปรับปรุง (Action) และด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ทำนายปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พบว่า สามารถร่วมกันอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 69 สมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ คือ โดยมี มีตัวแปร 2 ตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านผู้บริหารและนโยบาย และด้านวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นผลจากการศึกษาเป็นข้อมูลเสนอผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทบทวน และปรับปรุงการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กนกวรรณ ผันสำโรง, ณัฐริษา อำนวยศรี, รัชดาพร เทศรักษ์, และ สุรศักดิ์ แก้กลาง. (2561). ความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด. สืบค้นจาก http://fms.nrru.ac.th/home/research/public_html/images/stories/Research-2560/Student-Research/student61-9.pdf
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2565). จำนวนนิสิตแยกตามหลักสูตร. สืบค้นจาก https://reg.up.ac.th/content/all/information
กุหลาบ แก้วมณี. (2558). การรับรู้ข่าวสารด้านกีฬาและการนำข่าวสารด้านกีฬาไปใช้ประโยชน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตนครหลวงเวียงจันทร์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จริยาภรณ์ โตเผือก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(2), 56–63.
จินตนา สระทองขาว. (2554). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตรลดา ตรีสาคร. (2555). พฤติกรรมองค์กร. ปทุมธานี: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ชุติมา ทาสุรินทร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุสิดา แก้วสมบูรณ์. (2566). ระบบการนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูงเพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(2), 22–34.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, ยุวรี ผลพันธิน, และ พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 174–197.
บรรณกร แซ่ลิ่ม. (2564). การรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม การบริหาร และการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 10(1), 36–46.
มณมรกต บัวแดง. (2566). ประสิทธิภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสาร Mahidol R2R e–Journal, 10(3), 158–172.
พรรณี คอนจอหอ, พีรศุษย์ บุญมาธรรม, น้ำฝน แสงอรุณ, ศิริวรรณ ปราชญ์ประยุร, และ ศักดิพัต ศรีอร่ามรุ่งเรือง. (2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 85–90.
พรปวีณ์ ภู่ห้อย. (2559). การรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารออมสินของประชาชนแต่ละช่วงอายุในจังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สุดีพร ฉันท์เฉลิมพงศ์. (2555). การรับรู้และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากรสังกัดหน่วยงานคณะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9(2), 53–60.
อุไร จุ้ยกำจร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.