การศึกษาประสิทธิผลของระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การแจ้งซ่อมออนไลน์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยเก็บข้อมูลจาก บุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 70 คน ผลการวิจัยพบว่า ในเชิงปริมาณ ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์สามารถลดเวลาในการแจ้งซ่อมและกระบวนการซ่อม ร้อยละ 35 ลดปริมาณกระดาษลง ร้อยละ 100 ลดจำนวนเงิน ร้อยละ 100 ในเชิงคุณภาพ ระบบสามารถสำรองข้อมูลเอกสารในรูปแบบออนไลน์ได้เป็นอย่างดีไม่ทำให้ข้อมูลการแจ้งซ่อมเกิดการสูญหายเหมือนการใช้ใบแจ้งซ่อมที่เป็นกระดาษในระบบเดิม ระดับความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพของระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ ก่อนการใช้ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ ในภาพรวมด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 หลังการปรับปรุง ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 โดยมีระดับ ความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้น ระดับความพึงพอใจด้านประโยชน์ของระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ พบว่า ก่อนการปรับปรุง ในภาพรวมด้านประโยชน์อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 หลังการปรับปรุง ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 โดยมีระดับความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรสนับสนุนให้มีการดำเนินการแจ้งซ่อมแบบออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ และควรมีการศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ในระยะยาว เพื่อปรับปรุงการใช้งานของระบบต่อไป
References
กนกขวัญ ตันเสถียร, และ ชัยวัฒน์ นุ่มทอง. (2555). การออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการงานซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคของอาคารบนเว็บไซต์. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 (น. 2094–2100). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กิตติพงษ์ พันธุ์ทอง, และ ธีระ สาธุพันธ์. (2564). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุงคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 632–640.
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2567). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะทันตแพทยศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566–2570. สืบค้นจาก https://dentistry.up.ac.th/storage/oit66/O4/O4dentupvision.pdf
ประทีป เทพยศ, และ อภิรมย์ อังสุรัตน์. (2564). การพัฒนาและประเมินระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Journal of Professional Routine to Research, 8(2), 1–12.
ภัทรพงษ์ อักษร. (2561). การพัฒนาระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. รายงานการวิจัยบุคลากร (R2R). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภานุวัฒน์ โลมากุล, และ วรินทร ซอกหอม. (2564). ระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อมและติดตามงานอาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา. งานวิจัยเพื่อการพัฒนางานประจำ รุ่นที่ 8. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม. (2565). การพัฒนาระบบตรวจเช็คเครื่องจักรออนไลน์ด้วย QR Code. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 41–53.
พลวัฒน์ สามพ่วงบุญ, และ กิตติ หวนสันเทียะ. (2559). ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ กรณีศึกษาบริษัท เจเจแอลคอมพิวเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยสยาม. สืบค้นจาก https://e-research.siam.edu/kb/maintenance-and-technical-support-management-system/
รัตยากร ไทยพันธ์, วลัยภรณ์ ศรเกลี้ยง, ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน, วีระยุทธ สุดสมบูรณ์, ฉัตรชัย แก้วดี, และ ธิดารัตน์ ทองเทียบ. (2564). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(1), 71–85.
วสุ สุริยะ, และ ปภาอร เขียวสีมา. (2566). รายงานการวิจัย การพัฒนาระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา
สมสุข นาคะพัฒนกุล, และ ปพิชญา นิเทศ. (2561). ระบบบริหารงานแจ้งซ่อมบำรุงออนไลน์. วารสารวิชาการ ปขมท., 7(1), 36–46.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.