การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กุลางกูร พัฒนเมธาดา สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • พรรณี ศรีเรือน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ; การตรวจสอบภายใน; เทคโนโลยีดิจิทัล; การบริหารจัดการข้อมูล; การ‍เปลี่ยนแปลงดิจิทัล; การติดตามผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) ประเมินผลระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการตรวจสอบภายในของสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้น ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายในที่ได้นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลของระบบ รวมถึงบูรณาการข้อมูลดิจิทัลกับระบบสารสนเทศอื่นของสถาบันฯ ทำให้ได้ระบบสารสนเทศสำหรับการ‍ตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 8 ประเด็นการตรวจสอบ ได้แก่ 1) การติดตามผลการตรวจสอบครั้งก่อน 2) การดำเนินงานด้านการรับ-นำส่งเงิน 3) การดำเนินงานด้านงานวิจัย 4) การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ 5) การดำเนินงานด้านการให้เช่าสถานที่/ค่าสาธารณูปโภค 6) รายงานกองทุนเงินส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยประจำปี 7) ผลการดำเนินงานตามคำรับรองกับมหาวิทยาลัย 8) การควบคุมภายในด้านการจ่ายเช็ค ผลที่ได้จากการประเมินคุณภาพของการจัดการข้อมูลสำหรับการตรวจสอบภายในโดยใช้ระบบงานเดิมและระบบงานที่พัฒนา พบว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยลดระยะเวลาจัดเตรียมเอกสารก่อนการตรวจสอบ‍ภายใน ลดจำนวนเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบภายใน มีกระบวนการกำกับติดตามและควบคุมความเสี่ยง และสามารถตรวจสอบภายในผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน มีความพึงพอใจต่อระบบโดยรวมระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านความง่ายต่อการ‍ใช้‍งาน และด้านการใช้งานระบบโดยรวม รองลงมา คือ ด้านตรงตามความต้องการ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และด้านประสิทธิภาพ

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กุณฑล กระบวนรัตน์. (2562). รายงานการวิจัย ระบบบริหารจัดการการปฏิบัติราชการของบุคลากร. สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ทับทิมทอง กอบัวแก้ว. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล. สืบค้นจาก https://eledu.ssru.ac.th/tubtimthong_ko/pluginfile.php/374/mod_resource/content/1/ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล.pdf

พลพธู ปียวรรณ, และ กัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. (2557). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2564ก). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2564. สืบค้นจาก http://audit.oop.cmu.ac.th/?page_id=734

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2564ข). แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2566-2570).

เชียงใหม่: กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2563). การพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในออนไลน์. สืบค้นจาก https://beta.sut.ac.th/iau/event/2150

วราลักษณ์ มิ่งขวัญ, และ ศิริเดช คำสุพรหม. (2560). องค์ประกอบการเพิ่มประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน มุมมองของผู้รับตรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99), 233–245.

วิมลสิริ ศรีสมุทร. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายใน. วารสารมหิดล R2R e-Journal, 6(1), 124–132.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). การตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.

สุพรรณี รัตนโรจน์มงคล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานธนาคารของรัฐขนาดใหญ่ ABC (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). Harper and Row.

Hoffer, J., Venkataraman, R., & Topi, H. (2015). Modern database management (12th ed.). Pearson.

Sganzerla, C., Seixas, C., & Conti, A. (2016). Disruptive innovation in digital mining. Procedia Engineering, 138, 64–71.

The PHP Group. (2022). PHP manual. สืบค้นจาก https://www.php.net/manual/en/preface.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-06-2025

How to Cite

พัฒนเมธาดา ก. ., & ศรีเรือน พ. . (2025). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(2), e1670. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1670