ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมให้กับบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา เกตุชรารัตน์ สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, รูปแบบการฝึกอบรม, บุคลากรสายวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรม ให้กับบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยในการตอบแบบสอบถาม คือ บุคลากรสายวิชาการ (อาจารย์) ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 246 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ออนไลน์แบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนตามระดับความคาดหวัง 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI modified) และการสังเคราะข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิจัยที่ได้จากแบบสอบถามทั้ง  4 รูปแบบ พบว่า ค่า PNI modified อยู่ระหว่าง 0.057-0.098 โดยรูปแบบที่มีระดับความต้องการจำเป็นในการเข้ารับการฝึกอบรมที่มีคะแนนสูงคือ รูปแบบการฝึกอบรมแบบออนไซต์ มีค่าเท่ากับ 0.098 เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่าระดับความต้องการจำเป็นที่มีคะแนนสูงคือข้อมีความเหมาะสมเรื่องของวัน เวลา และ สถานที่ในการจัดอบรม ได้ค่าเท่ากับ 0.133 รองลงมาคือ รูปแบบการฝึกอบรมแบบออนไลน์ ได้ค่าเท่ากับ 0.097 อันดับที่ 3 คือ รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ได้ค่าเท่ากับ 0.077 และอันดับที่ 4 คือ รูปแบบการฝึกอบรมแบบอัดคลิปวีดิโอแขวนไว้บน เว็บไซต์ ได้ค่าเท่ากับ 0.057 ข้อเสนอแนะสำหรับการฝึกอบรมในรูปแบบออนไซต์และรูปแบบผสมผสานจัดในสภาวการณ์ปกติหรือ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือมีข้อขัดข้องของระบบภาพเสียงและสัญญาณอินเทอร์เน็ต และรูปแบบการฝึกอบรมแบบออนไลน์ และการฝึกอบรมแบบอัดคลิปวีดิโอแขวนไว้บนเว็บไซต์ใช้กับสภาวการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ปกติหรือไม่สะดวกเรื่อง วัน เวลา และ สถานที่ การเดินทางในการเข้ารับการฝึกอบรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. วารสารครุศาสตร์สาร, 15(1), 29–43.

คมศร วงษ์รักษา. (2540). การเปรียบเทียบคุณภาพและความสอดคล้องของเทคนิคการจัดเรียงลำดับความสำคัญที่อิงโมเดลความแตกต่างในการประเมินความต้องการจำเป็น [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรัส สุวรรณเวลา. (2551). ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2555). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงานสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ใช้เทคโนโลยี ธนาคารพาณิชย์ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยพร สุวรรณประสพ. (2561). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันวีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาย หาญณรงค์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University, 7(2), 234.

ดวงใจชนก พรรษา, ปัญจพร พจนปัญญา, และอธิปัตย์ บุญเหมาะ. (2565). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนในชั้นเรียนปกติและการเรียนออนไลน์แบบกะทันหันในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารภาษาปริทัศน์, 37, 1–23.

ทัศนัย ดีวัฒนานนท์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกอบรมในการเพิ่มขีดความสามารถให้พนักงานธนาคาร ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และลดช่องว่างของสมรรถนะที่ไม่เหมาะสมต่อการขาย [สารนิพนธ์มหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประวีณา คาไซ, และนลินี พานสายตา. (2559). ความต้องการในการฝึกอบรมและพัฒนากับความคาดหวังต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการวิทยาลัยดุสิตธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10, 77–92.

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 67–79.

พัชรดา นาคา. (2562). การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอนของครู วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาสกร ศรีสุวรรณ, และธีรพงษ์ วิรยานนท์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อวิดีโอออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 502–515.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://ku-work.ku.ac.th/download/workload2559.pdf

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565). แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการของ มก. วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา มก. ระยะ 12 ปี พ.ศ. 2560–2571. https://www.ku.ac.th/th/operation-plan-and-action-plan-of-ku/download/3126

วิกิพีเดีย. (2565). คลิปวีดิโอ. https://th.wikipedia.org/wiki

วินัย ปานโท้, กอบสุข คงมนัส, และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2561). การศึกษาความต้องการต่อระบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานที่บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2), 1169.

ศิลป์ปวิชญ์ จันทร์พุธ. (2560). ผลการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่มีต่อความสามารถในการออกแบบอินโฟกราฟิกของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [ค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด บางโม. (2559). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

อรุณรุ่ง โยธสิงห์, และสำราญ กำจัดภัย. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 270–284.

Bersin & Associate. (2003). Blended learning: What works? An industry study of the strategy, implementation, and impact of blended learning. Bersin & Associates. https://scirp.org/reference/referencespapers.aspx?referenceid=2143720

Ellis, R. (1994). Second language acquisition. Oxford: Oxford University Press.

Gardner, R. C., & Lambert, W. E. (1972). Attitudes and motivation in second language learning. Newbury House.

Gardner, R. C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitudes and motivation. London: Edward Arnold.

Hrnote.asia. (2565). การฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน (Classroom Training). https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190606-classroom-training/

Littlewood, W. (1984). Foreign and second language learning: Language-acquisition research and its implications for the classroom. Cambridge: Cambridge University Press.

Trainersunny. (2566). ข้อดีของคลาส Offline หรือ Onsite. https://www.trainersunny.com/

Tutor vip. (2566). การเรียนออนไลน์แบบคลิป. https://tutor-vip.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-01-2025

How to Cite

เกตุชรารัตน์ ม. . (2025). ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมให้กับบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 14(1). สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1364